ลักษณะของดินและการสะสมคาร์บอนในดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินต่างกันภายใต้ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ ไชยวงศ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุนทร คำยอง
  • นิวัติ อนงค์รักษ์
  • ประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์
  • สุภาพ ปารมี

คำสำคัญ:

การสะสมคาร์บอน, ป่าเบญจพรรณ, หินวัตถุต้นกำเนิด, ลักษณะของดิน

บทคัดย่อ

การศึกษาลักษณะของดินและการสะสมคาร์บอนในดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินต่างกันภายใต้ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของการสะสมคาร์บอนในดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินที่ต่างชนิดกันในพื้นที่ศึกษา โดยใช้หลุมศึกษาลักษณะของดิน จำนวน 6 หลุม และเก็บตัวอย่างดินตามระดับความลึกและความแตกต่างของชั้นดิน นำไปวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีในห้องปฏิบัติการ จากผลการศึกษา พบว่า ในพื้นที่ป่าเบญจพรรณพบลักษณะของหินต้นกำเนิดดิน 4 ประเภท ได้แก่ หินทราย หินดินดาน หินปูน และหินแอนดิไซต์ มีความผันแปรไปตามลักษณะของดินตั้งแต่ดินที่เริ่มพัฒนาการตัวไปจนถึงดินที่มีการพัฒนาการตัวสูง จำแนกอยู่ในอันดับ Inceptisols Ultisols และ Vertisols ที่ช่วงระดับความลึก 1 เมตร ดินที่เกิดจากหินแอนดีไซต์มีปริมาณการสะสมคาร์บอนมากที่สุด รองลงมา คือ หินดินดาน หินปูน และหินทราย โดยมีปริมาณการสะสม 152.73 t/ha 115.90 t/ha  83.29 t/ha และ 53.02-81.48 t/ha ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ป่าไม้มีการพื้นฟูและมีศักยภาพในการเป็นแหล่งนิเวศบริการ โดยเฉพาะการกักเก็บคาร์บอนในดิน

References

กองสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน. (2559). การจัดการทรัพยากรดินศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เอกสารวิชาการฉบับที่ 10/01/59 กันยายน 2559. กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ. 37 หน้า.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. (2544). ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐลักษณ์ คำยอง. (2552). ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ ลักษณะดิน และการสะสมคาร์บอนในป่าชนิดต่างๆ บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะเกษตรศาสตร์, สาขาปฐพีศาสตร์.

ดนัย แสนจันทอง. (2548). ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้กับลักษณะดินในสังคมพืชป่าไม้พื้นที่อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะเกษตรศาสตร์, สาขาปฐพีศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2544). พจนานุกรม ศัพท์ธรณีวิทยา. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วรพัชร วิชัยสุชาติ สมนิมิตร พุกงาม ปิยพงษ์ ทองดีนอก นฤมล แก้วจาปา และรจนา ตั้งกุลบริบูรณ์. (2561). การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการกักเก็บคาร์บอนในดิน บริเวณพื้นที่ ป่าชนิดต่างๆ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(4). 61-77.

วิทยา จินดาหลวง อภิรักษ์ จงเหลืองสอาด ทิมทอง ดรุณสนธยา และรฐนนท์ เจริญชาศร. (2561). การกักเก็บคาร์บอนอินทรีย์และไนโตรเจนรวมในดินนาบริเวณที่ราบลุ่ม ภาคกลางของประเทศไทย. วารสารแก่นเกษตร, 46(2). 309-320.

เอิบ เขียวรื่นรมณ์. (2542). การสำรวจดิน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Aoki, M., Komai, Y., & Yamaguchi, M. (1969). Studies on a red-colored soil derived from basaltic andesite of Shibayama. Soil Science and Plant Nutrition, 15(1), 15-20.

Brady, N., & R. Weil. (2010). Elements of the nature and properties of soils. Upper Saddle River, N.J.: Prentice Hall.

Buol, S.W., R.J. Southard, R.C. Graham & P.A. McDaniel. (2003). Soil genesis and classification. (5th ed). Ames, Iowa : Iowa State Press.

Crowther, J. (1982). Ecological observations in a tropical Karst Terrain, west Malaysia. variations in topography, soils and vegetation. Journal of Biogeography, 9(1), 65-78.

Kimmins, J. P. (2004). Forest ecology: A foundation for sustainable forest management and environmental ethics. Upper saddle River, NJ.: Prentice hall.

Oliveira , L. B., Ferreira, M. G. V. X., & Marques, F. A. (2004). Characterization and classification of two soils derived from basic rocks in Pernambuco State Coast, Northeast Brazil. Soils and Plant Nutrition, 61(6), 615-625.

Schaetzl, R.J. & S. Anderson. (2005). Soils: genesis and geomorphology. New York: Cambridge University Press.

Schoeneberger, P. J., D. A. Wysocki, E.C. Benham, and W.D. Broderson. (2002). Field book for describing and sampling soils. version 2.0. Lincoln, Nebraska: U.S. Government Printing Office.

Soil Survey Staff. (2004). Soil survey laboratory methods manual: soil survey investigations report no. 42, Version 4.0. Washington, D.C.: U.S. Government Printing Office.

Soil Survey Staff. (2014). Keys to soil taxonomy. (12th ed.). USDA-Natural Resources Conservation Service Press. Washington, D.C.: U.S. Government Printing Office.

Souza, J. J. L. L., Fontes, M. P. F., Gilkes, R., Costa, L. M., & amp; Oliveira, T. S. (2017). Geochemical signature of amazon tropical rainforest soils. The Revista Brasileira de Ciência do Solo, 42(17), 1-18.

Tangsinmankong, W., N. Pumijumnong., L. Moncharoen & S. Janmahasatien. (2007). Carbon stocks in soil of mixed deciduous forest and teak plantation. Environment and Natural Resources, 5(1), 80-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-27

How to Cite

ไชยวงศ์ จ., คำยอง ส., อนงค์รักษ์ น., วังภคพัฒนวงศ์ ป., & ปารมี ส. (2020). ลักษณะของดินและการสะสมคาร์บอนในดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินต่างกันภายใต้ระบบนิเวศป่าเบญจพรรณ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่. PSRU Journal of Science and Technology, 5(1), 41–51. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/221544