ความชุกทางซีรัมวิทยาและปัจจัยเสี่ยงต่อโรคแท้งติดต่อ ในแพะเนื้อในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • Komsak Komsak Jansod 176 M.7 kutkhao Sub-district, Mancha Khiri District, Khon Kaen Province 40160 Tel. 087-2257343
  • Chuleeporn Saksangawong
  • Pairat Sornplang
  • Komkrich Pimpukdee

คำสำคัญ:

ความชุก, โรคแท้งติดต่อ, แพะเนื้อ, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

โรคแท้งติดต่อในแพะเนื้อ (Brucellosis) ซึ่งมีสาเหตุหลักจาก Brucella melitensis เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และมนุษย์ที่พบได้ทั่วโลกและยังก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นปัญหาหลักทางด้านสาธารณสุขและยังมีผลกระทบทางด้านสุขภาพสัตว์ การศึกษามีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อโรคแท้งติดต่อในแพะภายในจังหวัดขอนแก่น โดยเก็บตัวอย่างเลือดจากแพะเนื้อในเขตจังหวัดขอนแก่น จำนวน 431 ตัว ทำการวิเคราะห์การติดเชื้อ B. melitensis โดยวิธี  Rose Bengal Test (RBT) การทดสอบด้วยวิธี Complement-fixation Test  และการใช้แบบสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ จำนวน 69 ราย  ผลการทดลองพบผลบวก จากตัวอย่างเลือดแพะเนื้อ 12/431 (2.78%) ในเขตจังหวัดขอนแก่น การแท้งลูกในแพะเนื้อเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อโรคแท้งติดต่อในแพะภายในจังหวัดขอนแก่น โดยอาจเกิดจากการผสมพันธุ์กับตัวที่เป็นโรคภายในฝูง แพะตัวเมียเชื้อจะถูกปล่อยออกมากับน้ำนม แพะแม่พันธุ์ที่แท้งจะปล่อยเชื้อไปจนถึงการตั้งท้องในครั้งต่อไป ดังนั้นจึงควรมีการควบคุม ป้องกัน และต้องมีการตรวจแม่พันธุ์ที่มีอาการแท้งลูกและคัดทิ้งเป็นระยะเพื่อลดการระบาดของโรคต่อไป

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). การซื้อขายแพะมีชีวิตเพื่อการบริโภค.
https://www2.moac.go.th/ewt_news.php?nid=20655&filename=index. เข้าถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2560.

ช้องมาศ อันตรเสน ตระการศักดิ์ แพไธสง และพิไลพร เจติยวรรณ. (2556). ความชุกทางซีรัมวิทยาและปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อ
Brucella melitensis และ caprine arthritis-encephalitis virus ในแพะ. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
23(1), 61-68.

ภูมินทร์ สุมามาลย์ และศุภธิดา ภิเศก. (2557). สภาวะโรคบรูเซลโลซีสในโคนมและแพะภายในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด. ร้อยเอ็ด :
สำนักงานปศุสัตว์.

มนกานต์ อินทรกำแหง และอรพิน จันตะแสง. (2557). การติดเชื้อบรูเซลโลซีสในฟาร์มผู้เลี้ยงแพะรายใหม่. รายงานสืบเนื่องจากการ
ประชุมวิชาการมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 10. มหาสารคาม: คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 407-413.

มนยา เอกทัตร์. (2552). โรคบรูเซลโลซิสและการชันสูตรโรคในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ.

สุวิทย์ อโนทัยสินทวี ชัชวาล วิริยะสมบัติ ทนงชัย ชัชวาล และพิภพ เกิดเมฆ. (2544). การเลี้ยงแพะ. เอกสารคำแนะนำกรมปศุสัตว์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ISBN. กรุงเทพฯ.

สุวิมล ประทุมมณี พิพัฒน์ อรุณวิภาส และสถาพร จิตตปาลพงศ์. (2557). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ Brucella spp. และ
Neospora caninum ในแพะนมในจังหวัดนครปฐม. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ครั้งที่ 52. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 160-167.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์. (2560). ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะระดับจังหวัด ปี 2560.
https://ict.dld.go.th/th2/index.php/th/report/529-report-thailand-livestock/reportservey2560. เข้าถึงวันที่ 28
มีนาคม 2560.

อณัญญา สีนอเนตร และวันประเสริฐ ทุมพะลา. (2556). ความชุกทางซีรัมและปัจจัยเสี่ยงของโรค Brucellosis ในแพะ. รายงาน
สืบเนื่องจากการประชุมวิชาการมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 10. มหาสารคาม: คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
507-512.

อนุสรณ์ สังข์ผาด, และภรณ์ชนก สุขวงษ์. (2554). ความชุกทางซีรั่มของโรคบรูเซลโลซิสในแพะในกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรม
ทดสอบโรคบรูเซลโลซิสในพื้นที่อำเภออู่ทอง ปี 2552 – 2554. จาก:https://www.dld.go.th/pvlo_spr/จ.สุพรรณบุรี เข้าถึง
วันที่ 10 กรกฎาคม 2561.

Solorio-Rivera, J.L. Sersura-correa, J.C. & Sanchez-Gil, L.G. (2007). Seroprevalence of risk factors for brucellosis of
goats in herds of Micoacan. Mexico. Preventive Veterinary Medicine, 82, 282-290.

The Center for Food Security & Public Health.(2012). Ovine and CaprineBrucellosis:BrucellaMelitensis.
https://www.cfsph.iastate.edu/Factsheets/pdfs/brucellosis melitensis.pdf. Retrieved. December 18, 2012.

Wayne, W.D. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. (6thed.). New York: John Wiley &
Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-05

How to Cite

Jansod, K. K., Saksangawong, C., Sornplang, P., & Pimpukdee, K. (2019). ความชุกทางซีรัมวิทยาและปัจจัยเสี่ยงต่อโรคแท้งติดต่อ ในแพะเนื้อในจังหวัดขอนแก่น. PSRU Journal of Science and Technology, 4(3), 84–94. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/204040