แบบจำลองระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรผ่านสมาร์ทโฟน

ผู้แต่ง

  • ฺBunyarit wangngon 084-6144195
  • กรณ์ ธนิตเลิศวงศ์
  • ศรพิชัย กาศโอสถ
  • สุวัจนา สุขศิริ

คำสำคัญ:

แบบจำลอง, ระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจร, สมาร์ทโฟน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอแบบจำลองระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรผ่านสมาร์ทโฟน ซึ่งจำลองสี่แยกบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ข้อมูลของการศึกษาวิจัยถูกเก็บรวบรวมในช่วงวันธรรมดาทั้งหมด 4 ช่วง ทำการหาปริมาณความหนาแน่นของการจราจรเพื่อตัดสินใจในการออกแบบสัญญาณไฟจราจรที่เหมาะสมกับช่วงเวลาและเพิ่มประสิทธิในการควบคุมการจราจร โดยอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์ราสเบอร์รี่พายถูกใช้เป็นตัวประมวลผล มีหน้าจอแสดงผลตัวเลขเป็นตัวบ่งบอกเวลาและใช้กล้องวงจรปิดเพื่อดูปริมาณรถ การออกแบบระบบควบคุมสัญญาณไฟจาราจรผ่านสมาร์ทโฟน ประกอบด้วย 2 ระบบ ได้แก่ ระบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ โดยระบบอัตโนมัติจะถูกออกแบบให้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการควบคุมสัญญาณไฟจราจรแบบอัตโนมัติทั้งหมด 4 ช่วง ส่วนระบบกึ่งอัตโนมัติจะปรับเปลี่ยนรูปแบบการควบคุมสัญญาณไฟจราจรโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ซึ่งทั้ง 2 ระบบถูกออกแบบให้สามารถควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน จากการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบระหว่างการควบคุมสัญญาณไฟจราจรแบบเดิมและการควบคุมสัญญาณไฟจราจรผ่านสมาร์ทโฟน ในช่วงเช้า เวลา 05:00 – 11:00 น. การควบคุมสัญญาณไฟจราจรผ่านสมาร์ทโฟนมีประสิทธิภาพมากกว่าการควบคุมสัญญาณไฟจราจรแบบเดิมร้อยละ 22.05 ช่วงกลางวัน เวลา 11:00 – 17:00 น. มีประสิทธิภาพมากกว่าการควบคุมสัญญาณไฟจราจรแบบเดิม ร้อยละ 30.64 ช่วงเย็น เวลา 17:00 – 23:00 น. มีประสิทธิภาพมากกว่าการควบคุมสัญญาณไฟจราจรแบบเดิม ร้อยละ 20.43 และช่วงค่ำ เวลา 23:00 – 05:00 น. มีประสิทธิภาพมากกว่าการควบคุมสัญญาณไฟจราจรแบบเดิม ร้อยละ 26.88 ภาพรวมตลอดทั้งวันของผลการควบคุมสัญญาณไฟจราจรผ่านสมาร์ทโฟนเปรียบเทียบกับระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรแบบเดิม พบว่า มีประสิทธิภาพในการระบายรถเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 22.05 ซึ่งสามารถนำแนวคิดการควบคุมสัญญาณไฟจราจรผ่านสมาร์ทโฟนไปพัฒนาการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในอนาคตได้

Author Biography

ฺBunyarit wangngon, 084-6144195

-

References

ฉัตรมงคล ลิ้มแดงสกุล. (2551). ระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรโดยใช้เทคนิคการประมวลภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ท, สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ.

Bell M.G.H., Shield C.M., Anderson J.M. (1995). Assignment in the Integration of Urban Traffic Control and Dynamic Route Guidance, In: Gartner N.H., Improta G. (eds) Urban Traffic Networks. Transportation Analysis. Berlin, Heidelberg: Springer, 39-57.

Bohang L., Xiaoyong Y., Qingbing L. & Shougang H. (2010). An Improved Method for Traffic Control Relying on Close-Loop Control theory. International Asia Conference on Informatics in Control, Automation and Robotics. IEEE, 2010, 48-50.

Chiyakat,C., Visayadamrong C., & Kanchanasuntorn K. (2007). Optimizing Traffic Signal Timing Decisions Using Simulation. Proceedings of the Industrial Engineering Network 2007, October 24-26, 2007, Royal Phuket City Hotel, Phuket, 119-125.

Head K.L., Mirchandani P.B. & Sheppard D. (1996). Hierarchical Framework for Real-Time Traffic Control, Transportation Research Record, 1360, 82-88.

John B. & John A.S. (2001). New Approach for Developing Warrants of Protected Left-turn Phase at Signalized Intersections. Transportation Research part A, 2001, 35(6), 561-574.

Lan R. (1996). UTMC: The Way forward for Urban Traffic Control. Traffic engineering & control, 37(11), 618-623.

Sims A.G. & Dobinson K.W. (1980). The Sydney Coordinated AdaptiveTraffic (SCAT) System Philosophy and Benefits. IEEE Transctions on Vehicular Technology, 29(2), 130-137.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-27

How to Cite

wangngon ฺ., ธนิตเลิศวงศ์ ก., กาศโอสถ ศ., & สุขศิริ ส. (2020). แบบจำลองระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรผ่านสมาร์ทโฟน. PSRU Journal of Science and Technology, 5(1), 66–80. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/Scipsru/article/view/181899