โครงสร้างผลึก และสมบัติทางไฟฟ้าของเซรามิกไร้สารตะกั่ว BNT-BKT-BZT: ผลของอุณหภูมิซินเตอร์
Keywords:
อุณหภูมิซินเตอร์, สมบัติไดอิเล็กทริก, สมบัติเพียโซอิเล็กAbstract
เซรามิกไร้สารตะกั่วเพียโซอิเล็กทริกในระบบ 0.70(Bi0.5Na0.5TiO3)-0.20(Bi0.5K0.5TiO3)-0.10(BaZr0.20Ti0.80O3) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า BNT-BKT-BZTถูกเตรียมด้วยวิธีปฏิกิริยาสถานะของแข็ง โดยผงผลึก Bi0.5Na0.5TiO3[BNT]และผงผลึก Bi0.5K0.5TiO3 [BKT]ถูกเผาแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 850 C เป็นเวลา 2 ชั่วโมง สำหรับผงผลึก BaZr0.20Ti0.80O3[BZT] ถูกแคลไซน์ที่ 1350 C เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ตามลำดับ นำผงผลึก BKT-BKTBZT ในสัดส่วน0.70:0.20:0.10 มาเผาซินเตอร์ที่อุณหภูมิ 1050-1175 °C ศึกษาโครงสร้างผลึกของ BNT-BKT-BZT ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (XRD) พบว่าเซรามิกมีโครงสร้างเฟสร่วมกันระหว่างรอมโบฮีดรอล และเททระโกนอลโดยจะมีลักษณะเป็นเททระโกนอลมากขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิซินเตอร์ จากการศึกษาสมบัติไดอิเล็กทริกของเซรามิก พบว่าเซรามิกในทุกๆ ตัวอย่างมีพฤติกรรมแบบรีแลกเซอร์เฟร์โรอิเล็กทริก และพบว่าเซรามิกที่เผาซินเตอร์ที่อุณหภูมิ 1150 °C มีค่าไดอิเล็กทริกสูงสุดและค่าการสูญเสียไดอิเล็กทริกต่ำสุดเป็น 5053 และ 0.02
Lead-freepiezoelectric 0.70 (Bi0.5Na0.5TiO3)-0.20(Bi0.5K0.5TiO3)-0.10(BaZr0.20Ti0.80O3) ceramic (abbreviated as BNT-BKT-BZT) was prepared by the solid-state reaction method. BNT, BKT and BZT powders were calcined separately at 850 °C/2h, 850 °C/2h and 1350 °C/3h, respectively. The BNT-BKT-BZT calcined powders in the ratio of 0.70:0.20:0.10 were sintered between 1050-1175 °C. The crystal structure of BNT-BKT-BZT was characterized by X-ray diffraction (XRD). The results indicated that a coexistence of rhombohedral (R) and tetragonal (T) phases occurs in the system, which tends to evolve into a tetragonal symmetry. The results of dielectric constant exhibited relaxor ferroelectric in all compositions. The optimum sintering temperature was found at 1150 °C which showed the maximum dielectric constant (eSA) and lowest dielectric loss (tand) are5053 and 0.02.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการปรับปรุงแก้ไขตัวอักษรและคำสะกดต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง และต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร PSRU Journal of Science and Technology ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ
ผลการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุด