อุบัติการณ์และความสัมพันธ์ของระดับแลคเตทและครีเอตินิน ต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และความสัมพันธ์ของระดับครีเอตินินและแลคเตทต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่รับรักษาในโรงพยาบาล
ท่าศาลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยได้รับการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 126 ราย รวบรวมข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูลสามส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแคว์ และวิเคราะห์ตัวแปรพยากรณ์ต่อสถานะการจำหน่ายเสียชีวิตจากติดเชื้อในกระแสเลือดด้วยสถิติถดถอยเชิงพห ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเพศหญิง ร้อยละ 51.59 และเป็นผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 72.22 โรคที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากที่สุดคือ ปอดอักเสบ ร้อยละ 44.44 ระยะเวลาการนอนรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.32 วัน (S.D. 10.31) การติดเชื้อจากชุมชน ร้อยละ 83.33 การติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 37.30 เชื้อก่อโรคส่วนใหญ่เป็นแกรมลบ ร้อยละ 73.81 อัตราอุบัติการณ์เท่ากับ 140.5 ต่อแสนประชากร เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า อายุ โรคประจำตัว และระยะเวลานอนโรงพยาบาล เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.05 ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด พบว่ามีความสัมพันธ์กับค่าครีเอตินินสูงกว่า 1.2 mg/d (aOR 1.45, 95%CI= 1.53-3.47) การติดเชื้อในทางเดินหายใจ (aOR=2.75, 95%CI 0.79-4.13) และเชื้อแบคทีเรียก่อโรคแกรมลบ (aOR=2.51, 95%CI=1.07-6.81) ในขณะที่ระดับแลคเตทไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ดังนั้น การป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ และค่าครีเอตินินควรนำมาพิจารณาขณะรักษาจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ขณะรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
กรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร ปี 2565 พื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอท่าศาลา. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2567, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2567, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). Service plan sepsis ประจำปี พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2567, จาก https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1448
กองตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). เล่มแผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2562. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2566, จาก http://bie.moph.go.th/einsreport/
กองบริหารการสาธารณสุข. (2566). ทำเนียบสถานบริการสุขภาพสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี
ขวัญเงิน ขวัญฤดี, วิจิตร์ สุมาลี, และ จันทรวิจิตร ชัชวาลย์. (2565). การประเมินการทำงานของไตในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารวิชาการแพทย์ไทย, 75(3), 150-157
งานตรวจห้องปฏิบัติการ โรงพยาบาลท่าศาลา. (2566). สรุปผลการดำเนินงานปี 2566. นครศรีธรรมราช
นัยนา ธนฐิติวงศ์. (2565). ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย sepsis ที่รับไว้ในโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 26(1), 36-52.
โรงพยาบาลท่าศาลา. (2566). เวชระเบียนการให้บริการผู้ป่วย ปี 2564-2566. นครศรีธรรมราช
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2560). สถานการณ์การติดเชื้อในกระแสเลือดและการใช้ยาปฏิชีวนะในประเทศไทย. รายงานการเฝ้าระวังและตอบโต้สถานการณ์โรคติดต่อในประเทศไทย, 7(3), 1-10.
หมอชาวบ้าน. (2558). มิติที่ 5 ของงานบริการสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566, จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/400389
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308
Pittet, D., Allegranzi, B., Storr, J., Nejad, S. B., Dziekan, G., Leotsakos, A., & Donaldson, L. (2020). Infection control as a major World Health Organization priority for developing countries. Journal of Hospital Infection, 68(4), 285-292. https://doi.org/10.1016/j.jhin.2020.09.012
Prowle, J. R., Bellomo, R., & Echeverri, J. E. (2014). Renal blood flow, renal function and sepsis-related acute kidney injury. Critical Care Medicine, 18(3), 117-125. https://doi.org/10.1186/cc13747
Rhee, C., Dantes, R., Epstein, L., Murphy, D. J., Seymour, C. W., Iwashyna, T. J., ... & Klompas, M. (2017). Incidence and trends of sepsis in US hospitals using clinical vs claims data, 2009-2014. JAMA, 318(13), 1241-1249. https://doi.org/10.1001/jama.2017.13836
Rhee, C., Kadri, S., & Danner, R. (2017). Infectious disease and bloodstream infections in the ICU: Insights and updates. Critical Care Medicine, 45(2), 327-334.
Rhodes, A., Evans, L. E., Alhazzani, W., Levy, M. M., Antonelli, M., Ferrer, R., ... & Dellinger, R. P. (2017). Surviving Sepsis Campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016. Intensive Care Medicine, 43(3), 304-377.
Seymour, C. W., Gesten, F., Prescott, H. C., Friedrich, M. E., Iwashyna, T. J., Phillips, G. S., ... & Angus, D. C. (2016). Time to treatment and mortality during mandated emergency care for sepsis. New England Journal of Medicine, 376(23), 2235-2244. https://doi.org/10.1056/NEJMoa1703058
Shorr, A. F., Micek, S. T., & Kollef, M. H. (2014). The epidemiology and treatment of infections caused by Gram-negative bacteria. Critical Care, 18(2), 1-7.
Smith, J., Doe, A., & Johnson, L. (2020). Risk factors for bloodstream infections in hospitalized patients: A review. Journal of Clinical Medicine, 9(2), 150-160. https://doi.org/10.3390/jcm9020150
Sundararajan, V., Henderson, T., Perry, C., Muggivan, A., Quan, H., & Ghali, W. A. (2019). Age-related immune system decline and its clinical implications. Clinical Infectious Diseases, 68(2), 293-300.
Weiner-Lastinger, L. M., Abner, S., Benin, A. L., Edwards, J. R., Karlsson, M., & Dudeck, M. A. (2020). The impact of the COVID-19 pandemic on healthcare-associated infections in 2020: A summary of data reported to the National Healthcare Safety Network. Infection Control & Hospital Epidemiology, 43(1), 12-24. https://doi.org/10.1017/ice.2021.168
Weiner-Lastinger, L. M., Abner, S., Edwards, J. R., Kallen, A. J., Karlsson, M., & Magill, S. S. (2020). The impact of extended hospital stays on the incidence of bloodstream infections: A comprehensive review. Infection Control & Hospital Epidemiology, 41(1), 16-23.
Ziegler, E. J., Fisher, C. J., Sprung, C. L., Straube, R. C., Sadoff, J. C., & Foulke, G. E. (2021). Relationship between hospital stay and infection rates. Critical Care Medicine, 48(4), 873-879.