แนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตร โดยใช้พืชเศรษฐกิจ ด้วยโมเดล BCG

Main Article Content

SOOKJAI PROMPRASANSUK

บทคัดย่อ

การพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตร โดยใช้พืชเศรษฐกิจที่มีความโดดเด่น เช่น ข้าว พืชสมุนไพรเป็นฐานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยศึกษาที่จังหวัดสุพรรณบุรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นพื้นที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่นำร่อง ด้วยมีพืชเศรษฐกิจที่มีความโดดเด่น ทั้งยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ ที่สามารถส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดล BCG ด้านการเกษตรหลากหลายหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานของภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจเอกชน รวมถึงมีสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งในพื้นที่ สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยโมเดล BCG ที่จำเป็นต้องให้ภาคส่วนต่างเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อให้การพัฒนาเกิดความเข้มแข็งและมีความยั่งยืน การศึกษานำร่องนี้ได้เลือกศึกษาผ่านการสนับสนุนพืชเศรษฐกิจของจังหวัดสุพรรณบุรี 2 ชนิด ได้แก่ ข้าว และพืชสมุนไพร โดยศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัดและพื้นที่อำเภอ รวมถึงศึกษาการดำเนินงานข้าวผ่านวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน ในขณะที่พืชสมุนไพรมีการศึกษาการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการและแปรรูปพืชสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยารักษาโรคของโรงพยาบาลอู่ทองที่ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางความต้องการพืชสมุนไพรในพื้นที่ ที่จะเชื่อมโยงกลับไปยังเกษตรกรและชุมชน จากข้อค้นพบต่อปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงาน
ได้นำมาสู่ข้อเสนอของงานศึกษานี้สำหรับพื้นที่อื่นสามารถนำไปปรับใช้ 2 แนวทาง คือ การกำหนดแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ และกระบวนการผลักดันและสนับสนุนจากภาครัฐ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). ข้อเสนอ BCG in Action: The New Sustainable Growth Engine โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.nxpo.or.th/th/wp-content/uploads/2020/03/BCG-in-action_Final-V16_เผยแพร่.pdf

งานแผนกลยุทธ์การตลาด ฝ่ายธุรกิจนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2561). โครงการศึกษาโอกาสทางการตลาดสมุนไพรไทยเป้าหมาย. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. (ม.ป.ป.). การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่#cite_note-2.

ประชาคมวิจัยด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว. (2561). สมุดปกขาว BCG in

Action การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทยเพื่อเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว Bio-Circular-Green Economy. สืบค้นจาก https://bcg.in.th/data-center/ebook-series/bcg-in-action.

สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ.2566-2570. สืบค้นจาก https://ww1.suphanburi.go.th.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). (2561). สร้างสรรค์คุณค่าข้าวไทย ด้วยเกษตรปลอดภัยและนวัตกรรมที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2561). เศรษฐกิจชีวภาพ Bioeconomy. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2565). เกษตรไทย เกษตรเท่ เกษตรมูลค่าสูง. สืบค้น

จาก https://www.bcg.in.th/data-center/media-information/thai-high-value-agriculture.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2565). แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนา

ประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ.2564-2570. สืบค้นจาก

https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/bcg/BCG-Action-Plan-2564-2570-256502-02.pdf

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2565). ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศใช้แผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=13176&filename=index

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.). (2564). BCG

Economy Model สำคัญอย่างไร ทำไมถึงประกาศเป็นวาระแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.nxpo.or.th/th/7040/.

สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.),

(2564). บทความทางวิชาการ เรื่อง วาระแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG สืบค้นจาก

https://sto.go.th/articles

Bell, Stephen, and Hindmoor Andrew. (2009). Rethinking Governance: The Centrality of the State in Modern Society. New York: Cambridge University Press.

Christensen, Tom, and Laegreid, Per. (2013). Introduction. In Christensen, Tom, and Laegreid, Per. eds. The Ashgate Research Companion to New Public Management. London: Ashgate Publishing.

Cope, Stephen, Leishman, Frank, and Strarie, Peter. (1997). “Globalization, new public management and the enabling state: futures of police management.” The International Journal of Public Sector Management. Vol.10, No.6: 440-460.

Plessis, Jean Jacques du, Hargovan, Anil, and Bagaric, Mirko. (2011). Principles of Contemporary Corporate Governance. Second edition. New York: Cambridge University Press.