การประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานและภาวะโลหิตจางในบุคลากรของมหาวิทยาลัยปทุมธานี ประเทศไทย การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพของบุคลากร มหาวิทยาลัยปทุมธานี มีบุคลากรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 106 คนเป็นเพศชาย 23 คน (21.70%) และเพศหญิง 83 คน (78.30%) โดยมีอายุระหว่าง 20-70 ปี พบว่า ความดันโลหิตโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 118 ± 16.4 มม.ปรอท (Systolic) และ 79± 9.8 มม.ปรอท (Diastolic) อย่างไรก็ตามพบว่ามีเพียง 42.45% ที่มีความดันโลหิตอยู่ในช่วงปกติ จากการวิเคราะห์ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) พบว่ามีเพียง 35.85% ที่มีค่า BMI อยู่ในช่วงปกติ (18.50-22.90) โดยพบว่า 9.44% มีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ (BMI < 18.50) และ 54.71% มีน้ำหนักที่เกินกว่าปกติ (BMI ตั้งแต่ 23 ถึงมากกว่า 30) ผลการตรวจภาวะไขมันในเลือด พบว่ามีเพียง 37.74% ของบุคลากรมี Total cholesterol อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยมีผู้ที่มี LDL – cholesterol สูงกว่าปกติ 66.98 % และมีค่า Triglyceride สูงกว่าปกติ 19.81% นอกจากนี้ในส่วนของความเสี่ยงสำหรับโรคเบาหวาน ผลจากการตรวจ Fasting Blood sugar (FBS) พบว่ามีผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเพียง 10.38% ซึ่งต่างจากการตรวจภาวะน้ำตาลสะสม (Glycohemoglobin: HbA1c) ที่พบว่ามีความผิดปกติถึง 34.91% โดยอยู่ในภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) จำนวน 24.53% และเป็นโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus) จำนวน 10.38% สำหรับผลการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count: CBC) พบว่า มีเพียง 12 ราย (11.32%) ที่พบว่ามีภาวะโลหิตจางแบบไม่รุนแรง
ผลจากการวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์ทางสถิติโดย Chi-square Tests (Pearson Chi-square) ระหว่างอายุ เพศและผลการวิเคราะห์อื่นๆ พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นระหว่างอายุ และ HbA1c (p-value= 0.015) และระหว่างเพศและ enzyme Alanine transaminase: ALT (p-value= 0.031)
โดยสรุป พบว่าบุคลากรส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยปทุมธานีมีความเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก ได้แก่ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน และโรคอ้วน อย่างไรก็ตามควรต้องระวังในเรื่องของภาวะความดันโลหิต ร่วมกับระดับไขมันและน้ำตาลในเลือด โดยผู้ที่พบว่ามีความเสี่ยงต้องตระหนักและให้ความสำคัญต่อการรักษาสุขภาพตนเอง ทั้งนี้เพื่อที่จะได้มีสุขภาพร่างกายที่ดี และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อองค์กรและสังคมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. (2562) โรคไร้เชื้อ บูรณาการสุขภาพ: แนวทางปรับพฤติกรรมเปลี่ยนสุขภาพเพื่อวิถีชีวิตที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาบันลือธรรม
กรุณี ขวัญบุญจัน. (2563). โรคที่เกิดจากความเจริญยุคใหม่ บทบาทของโภชนาการ วิถีชีวิตและพันธุกรรม. พิมพ์ที่ บริษัทฮั่วน้ำพริ้นติ้ง จำกัด
กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2560). ประเด็นการรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2560.
ข้อมูลจาก สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
คณะทำงานสุขภาพคนไทย. (2560). รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2560. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล. แหล่งข้อมูล: https://www.thaihealth.or.th/Books/544.
ปิยะภร ไพรสนธิ์, พรทิพย์ สารีโส, พัชราภรณ์ อารีย์, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า, อุไรวรรณ ชัยมินทร์, และปิยะนุช
พูลวิวัฒน์ (2560). “ภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย” วารสารสภาการพยาบาล ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2560. หน้า 133–145.
ภูวดลพล ศรีประดิษฐ์. (2547). “ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะโลหิตจางในผู้สูงอายุบ้านสุขัง ตำบลตะคุ
อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา”. [วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการ ชุมชน]: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิมล พันธุเวทย์. (2559). ภาวะไขมันในเลือดผิดปรกติ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ 1
เวชปฏิบัติทั่วไป (2562) แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง: 2019 Thai Guidelines on The Treatment
of Hypertension พิมพ์ครั้งที่ 1 จัดพิมพ์โดย สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย (Thai Hypertension Society)
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2553). “ข้อมูลจำนวนครั้งในการรักษาที่แผนก
ผู้ป่วยใน อันเนื่องมาจากการเกิดโรคและค่าใช้จ่ายที่โรงพยาบาลเรียกเก็บอันเนื่องมาจากการเกิดโรค”
สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2560). แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี
(พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: บริษัทอิโมชั่น อาร์ตจำกัด
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็น มีเดีย จำกั
American Diabetes Association. (2010). Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes
Care. 2010; 33(S1): 62-9.
Executive summary of the third report of the National Cholesterol Education Program (NCEP) (2001) “Expert panel on detection, evaluation and treatment of high blood cholesterol in adult (Adult treatment panel III)”. JAMA 285: 2486-2497.
Hacke W, Davis S. (2017). “Organizational Update: World Stroke Organization”. Stroke. Jul;48(7):e157-e158. doi: 10.1161/STROKEAHA.117.016942. Epub 2017 May 19.
Millán J, Pintó X, Muñoz A, et al.(2009) “Lipoprotein ratios: Physiological significance and clinical usefulness in cardiovascular prevention.“ Vasc Health Risk Manag. 2009; 5:757-65. Epub 2009 Sep 18.PMID: 19774217
Orozco-Beltran D, Gil-Guillen VF, Redon J, Martin-Moreno JM, Pallares-Carratala V, et al. (2018). “Lipid profile, cardiovascular disease and mortality in a Mediterranean high-risk population”: The ESCARVAL-RISK study. PLoS One. 2017 Oct 18;12(10):e0186196. doi: 10.1371. Erratum in: PLoS One. 2018 Sep 27;13(9):e0205047.
Pasqualetti S, Carnevale A, Dolci A, Panteghini M. (2022). A step towards optimal efficiency of HbA1c measurement as a first-line laboratory test: the TOP-HOLE (Towards OPtimal glycoHemOgLobin tEsting) project. Clin Chem Lab Med. 2022 Jan 18;60(3):441-450. doi: 10.1515/cclm-2021-1249. Print 2022 Feb 23.PMID: 35041303.
World Health Organization (WHO). (2011). The global prevalence of anaemia in 2011. Retrieved from https://www.who.int/nutrition/publications/micronutrients/global prevalence anaemia 2011
Yiengprugsawan V, Banwell C, Zhao J, Seubsman S, Sleigh AC. (2014) “Relationship between body mass index reference and all-cause mortality: Evidence from a large cohort of Thai adults”. J Obes.; Article ID 708606. doi: 10.1155/2014/708606.