การตรวจสอบการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันบนท้องถนนของไทย และต่างประเทศ: ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ การตรวจสอบการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันบนท้องถนนของไทย และต่างประเทศ: ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

Main Article Content

Sittichai singsu

บทคัดย่อ

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับ สถานการณ์การตรวจสอบการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันบนท้องถนนของไทยและต่างประเทศ ประชากร คือ งานวิจัยเกี่ยวกับการตรวจสอบการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันบนท้องถนนของไทยและต่างประเทศ ศึกษาจาก เอกสารทั้งหมด 897 ฉบับ ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ จำนวน 7 เรื่อง โดยมีเกณฑ์ การคัดเลือกงานวิจัย คือ กำหนดคำสำคัญตามหลัก PICO (Population, Intervention, Comparison, Outcome) เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์การตรวจสอบการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันบนท้องถนนของไทยและต่างประเทศ และเป็นงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2554 - 2563 ประเมินคุณภาพงานวิจัย โดยใช้ แบบฟอร์ม Heller, R. F., Verma, A., Gemmell, I., Harrison, R., Hart, J., & Edwards, R. (2008). วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า งานวิจัย จำนวน 7 เรื่อง เป็นงานวิจัยของไทยเพียง จำนวน 4 เรื่อง และเป็นงานวิจัย ต่างประเทศ จำนวน 3 เรื่อง โดยงานวิจัยของไทยเป็นการศึกษาสถานการณ์การจัดการด้านความปลอดภัยในท้องถนนของไทย (n=4) ด้านการอบรมเทคนิคการขับขี่เชิงป้องกัน (n=3) ประเทศไทยมีการจัดการด้านความปลอดภัยบนท้องโดยหน่วยงานรัฐออกกฎหมายจราจรบังคับใช้ภาพรวม มีการออกนโยบายโดยหน่วยงานท้องถิ่น มีการสร้างการมีส่วนร่วมของ ชุมชน  และการดำเนินการตามบริบท และ ในต่างประเทศมีการจัดการด้านความปลอดภัยบนท้องโดยหน่วยงานรัฐออกกฎหมายจราจรและบังคับใช่อย่างจริงจัง ทำให้อุบัติเหตุลดลง มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันให้กับผู้ขับขี่ยานยนต์บนท้องถนน ทำให้ผู้ที่ขับขี่มีพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยมากขึ้น ช่วยลดการละเมิดกฎจราจร ที่สำคัญสามารถลดอุบิเหตุบนท้องถนนได้ ดังนี้ควรสนับสนุนการวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการวิจัยด้านการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันบนท้องถนน ด้วยการทำวิจัยเชิงนโยบาย และการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกันให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เลิศวุฒิและคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนโดยการมีส่วน

ร่วมของพหุภาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน.วารสารสาธารณสุขล้านนา ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (2560):

มกราคม – มิถุนายน – บทความวิชาการทั่วไป

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. 2562. คู่มือฝึกอบรมหลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอน

มัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สิทธิชัย สิงห์สุ. (2560). การศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการด้านความปลอดภัยในการขับขี่เชิงป้องกัน

ต่ออุบัติเหตุทางถนนของพนักงานขับรถบรรทุกสินค้า. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติด้าน

วิทยาศาสตร์สุขภาพครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง: สำนักวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560

ถนอมศักดิ์ บุญสู่. (2563). รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็ก

เล็กเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ปี

ที่ 7 ฉบับที่ 3 (2563). กันยายน-ธันวาคม.

ภควัต ฟูสกุลธรรม. 2558. คู่มือกฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย. (พิมพ์ครั้ง 2). กรุงเทพฯ:

อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อสร้างวัฒธรรมทางถนน. (2564). สถิติการใช้สิทธิ พ.ร.บ.จราจร ปี พ.ศ.2563 ถึง

พ.ศ. 2564. วันที่ค้นข้อมูล 1 สิงหาคม 2564, เข้าได้จาก http://www.thairsc.com/

Anstey, K. J., Eramudugolla, R., Kiely, K. M., & Price, J. (2018). Effect of tailored on-road

driving lessons on driving safety in older adults: A randomised controlled trial.

Accid Anal Prev, 115, 1-10. doi:10.1016/j.aap.2018.02.016

Argote-Aramendiz, K., Molloy, M. S., Hart, A., Voskayan, A., Sarin, R., & Ciottone, G. R. (2020).

Effect of Road Safety Laws on Deaths and Injuries from Road Traffic Collisions in

Colombia. Prehosp Disaster Med, 35(4), 397-405. doi:10.1017/S1049023X20000758

Craig, J., & Smith, R. (2002). The Evidence-Based Practice Manual for Nurses. London:

Churchill Livingstone

Heller, R. F., Verma, A., Gemmell, I., Harrison, R., Hart, J., & Edwards, R. (2008). Critical

appraisal for public health: a new checklist. Public health, 122(1), 92-98.