การพัฒนาตำรับยาเม็ดฟู่ธาตุอบเชย ความคงตัวของผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่ละลายน้ำของยาธาตุอบเชย

Main Article Content

พวงผกา ตันกิจจานนท์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปริมาณสารสกัด ผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่ละลายน้ำธาตุอบเชยที่มีความคงตัวที่ดีที่สุด


รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงทดลอง (experimental study)


ผลการวิจัย : ตำรับยาเม็ดฟู่นี้ เตรียมโดยใช้วิธีการทำแกรนูลเปียกโดยใช้น้ำและนำไปตอกเม็ด โดยสูตรตำรับประกอบด้วยสารสกัดยาธาตุอบเชย กรดซิตริก โซเดียมไบคาร์บอเนต สารยึดเกาะ และสารกันติด และเลือกสัดส่วนของสารประกอบในตำรับให้เหมาะสม ความสามารถในการตอกเป็นเม็ด จากนั้นนำมาประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความแปรปรวนของน้ำหนักเม็ดยา ความแข็ง การแตกตัว ทำการทดสอบที่เวลา 0, 15, 30, 60, 90 และ 120 วัน การปนเปื้อนเชื้อจุลชีพ และโลหะหนัก จากผลการทดลองพบว่าในการพัฒนายาเม็ดฟองฟู่ ต้องใช้ปริมาณสารสกัดยาธาตุอบเชย 5 %w/w  ซึ่งตำรับที่ให้คุณสมบัติทางกายภาพที่ดีที่สุด ประกอบด้วย กรดซิตริก 25%w/w โซเดียมไบคาร์บอเนต 34 %w/w แป้งมัน 30 %w/w  PVP-K90 3 %w/w แมกนีเซียมสเตียเรท 2 %w/w และแอโรซิล 1 %w/w โดยมีความแข็งเท่ากับ 5.276, 5.222, 5.212, 5.190, 5.178 และ 4.984 กิโลนิวตัน เวลาในการแตกตัว 5.14, 5.19, 4.95, 4.90, 4.72 และ 4.52 นาที ความแปรปรวนของน้ำหนัก 0.420, 0.419, 0.419, 0.417, 0.416 และ 0.415 กรัม ตามลำดับ การปนเปื้อนเชื้อจุลชีพ และโลหะหนัก ผ่านข้อกำหนดตามประกาศกระทรวง สาธารณสุขและมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกและตำรามาตรฐานยาแผนไทย


สรุปและข้อเสนอแนะ : พัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดฟู่ละลายน้ำธาตุอบเชยที่มีความคงตัวดีที่สุด มีการควบคุมปริมาณเชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนักของยาเม็ดได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด เพิ่มความสะดวกต่อการบริโภคซึ่งเหมาะต่อการนำไปพัฒนาต่อในระดับอุตสาหกรรมต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย