การออกแบบระบบระบายอากาศเฉพาะที่ในแผนกทอดอาหารปลา
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: ระบบระบายอากาศ, จำลอง,ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองและปรับปรุงประสิทธิภาพโดยมีจุดมุ่งหมายระบบระบายอากาศในห้องทอดอาหารปลา ซึ่งพนักงานจะได้รับผลกระทบจากการสัมผัสสารเคมีที่ฟุ้งกระจายภายในห้อง ในส่วนงานวิจัยจึงทำการประเมินประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศ โดยใช้การตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองในบริเวณพื้นที่การทำงาน 2 แบบ อนุภาคทุกขนาดที่อาจสูดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ (Inhalable dust) และอนุภาคขนาดเล็กที่อาจสูดเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ (Respirable dust) ในอากาศเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานตาม[1] และทำการประเมินตราการไหลของอากาศด้วยการวัดความเร็วลมเฉลี่ย เพื่อตรวจสอบตรวจสอบว่าประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศเดิมที่ใช้อยู่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ หลังจากนั้นจึงทำการจำลองภาพเสมือนจริงการกระจายตัวของฝุ่นที่เกิดจากขั้นตอนการทอดอาหารปลาโดยใช้โปรแกรมที่ช่วยในการจำลองของไหลของอากาศ (SolidWork) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศว่าขณะพนักงานปฏิบัติงานสามารถดูดฝุ่นได้หมดหรือไม่ ซึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศจึงต้องทำการเพิ่มแรงดูดของฮูด (Hood) ให้สามารถดูดฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้ในภายห้องทอดอาหารปลาได้หมด โดยต้องทำการออกแบบระบบระบายอากาศใหม่ให้ให้เป็นไปตามคำแนะนำของมาตรฐาน ACGIH [2] ที่แนะนำ จากผลการศึกษาพบว่าระบบระบายอากาศแบบเฉพาะที่ที่สร้างขึ้นสามารถมีอัตราการไหลของอากาศ 4529.6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มฮูด (Hood) เป็น 2 เครื่อง สามารถเพิ่มอัตราความเร็วลมเฉลี่ย 53.5 ฟุตต่อนาที เป็น 309 ฟุตต่อนาที ในฮูด A (Hood A) และ 321 ฟุตต่อนาที ในฮูด B (Hood B) สามารถลดการสัมผัสฝุ่นละอองรวมจากเดิมที่ระดับความเข้มข้น 17.14 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ลดลงเหลือ 1.15 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และลดการสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กจากเดิมที่ระดับความเข้มข้น 5.52 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ลดลงเหลือ 0.36 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ผลจากการทดลองชี้ให้เห็นว่าระบบระบายอากาศที่ออกแบบตามคำแนะนำ ACGIH [2 สามารถใช้การลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้