การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจวัด CO2 และ CH4 ระหว่าง อากาศยานไร้คนขับกับเครื่องวิเคราะห์ก๊าซชีวภาพ (Biogas 5000)
คำสำคัญ:
อากาศยานไร้คนขับ,ก๊าซชีวภาพ,หลุมฝังกลบขยะชุมชนบทคัดย่อ
ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการผลิตขยะอยู่ที่ 1.5 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน มีการจัดการขยะชุมชนด้วยวิธีด้วยระบบฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล โดยมีเจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานทำงานในพื้นที่หลุมฝังกลบ เช่น พนักงานคัดแยกขยะ พนักงานขนขยะ นักวิจัย เป็นต้น ขณะเดียวกันมีการตรวจวัดปริมาณก๊าซชีวภาพในพื้นที่หลุมฝังกลบเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ โดยวิธีการตรวจวัดยังใช้คนลงพื้นที่ตรวจวัดก๊าซชีวภาพโดยตรง ซึ่งมีความอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานอยู่ จึงได้นำอากาศยานไร้คนขับมาประยุกต์ใช้ โดยการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดก๊าซชีวภาพ เพื่อใช้ในการตรวจวัดก๊าซชีวภาพบริเวณหลุมฝังกลบแล้วนำมาเปรียบเทียบกับเครื่องวิเคราะห์ก๊าซชีวภาพ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของอากาศยานไร้คนขับ และ Sensor Arduino ในการตรวจวัด CO2 และ CH4 เปรียบเทียบกับการตรวจวัดด้วยเครื่องวิเคราะห์ก๊าซชีวภาพ (Biogas 5000) 2) เพื่อศึกษา ช่วงเวลา ระดับความสูงที่เหมาะสมในการตรวจวัด CO2 และ CH4 3) เพื่อศึกษาผลของปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อุณหภูมิ และความเร็วลมที่มีผลในการตรวจวัด CO2 และ CH4 โดยมีการประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ ร่วมกับ บอร์ด Arduino และทำการกำหนดระยะการบินเป็น ช่วงเช้า (09.00 – 11.00 น.) , ช่วงกลางวัน (13.00 – 15.00 น.) และช่วงเย็น (17.00 – 19.00 น.) ที่ระดับความสูงดังนี้ ระดับพื้นดิน, ระดับความสูง 50 เซนติเมตร และระดับความสูง 100 เซนติเมตร
จากการทดลองพบว่า ในระดับพื้นดินเครื่อง Biogas 5000 และ UAV Biogas Sensor สามารถตรวจวัดและเก็บบันทึกผลได้ แต่ในความสูงที่ 50 และ 100 เซนติเมตร เครื่อง Biogas 5000 ไม่สามารถตรวจวัดได้เนื่องจากข้อจำกัดของการตรวจวัดที่เครื่อง Biogas 5000 ตรวจได้แค่ระดับพื้นดินเท่านั้น ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความร้อนในอากาศ ส่งผลทำให้การบินของอากาศยานไร้คนขับบินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และในช่วงที่มีความแปรปรวนของอากาศนั้นทำให้การบังคับอากาศยานไร้คนขับนั้นไม่เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ นอกจากนี้พบว่า การตรวจก๊าซ CO2 และ CH4 ด้วยเครื่องวัดก๊าซที่พัฒนาขึ้นมา ตรวจวัดในช่วงที่อุณหภูมิสูง และความสูงระดับพื้นดินให้ผลที่ใกล้เคียงกับเครื่องวิเคราะห์ก๊าซชีวภาพ
References
เซนเซอร์ซิงก์ออกไซด์ที่เจือด้วยแพลเลเดียม. สืบค้นวันที่ 14 กรกฎาคม 2563. สืบค้นจากhttp://ithesisir.su.ac.th/dspace/handle//319?mode=full
ธราวุฒิ บุญเหลือ. (2561). ประยุกต์ใช้เครื่องบินบังคับอัตโนมัติ เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับงานสถาปัตยกรรมผังเมือง กรณีศึกษา อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. สืบค้นวันที่ 19 กรกฎาคม 2563. สืบค้นจาก http://rms.msu.ac.th/report/show_ research.php?action=show_data&data_id=6112
พงษ์ฑิพัฒน์ ไชยมงค์, สัจจา เตโชพลและภาสวิชญ์ บุญศรีทอง. (2561). การพัฒนาชุดตรวจวัดก๊าซ สำหรับติดตั้งบนอากาศยานไร้คนขับ. สืบค้นวันที่ 23 มีนาคม 2564. สืบค้นจาก http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/7172/2/Fulltext.pdf
สาธิต พันธ์ชาลี และ อานนท์ อ่อนสกุล. (2559). โครงการเครื่องตรวจจับและแจ้งเตือนแก๊สไวไฟรั่วไหล (LPG Gas alarm sensor). สืบค้นวันที่ 14 กรกฎาคม 2563. สืบค้นจาก http://gas-lpg-alam-sensor.blogspot.com/2017/02/ lpg-gas-alam-sensor.html
สมเจตน์ ทองคำ และจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2561). ผลกระทบทางด้านสุขภาพของแรงงาน
คุ้ยขยะ ในหลุมฝังกลบขยะ เทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นวันที่ 21 ตุลาคม 2563. สืบค้นจาก https://www.ubu.ac.th /web/files_up/08f201 8032516250 017
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้