การอ่านและแปลผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้นในการตรวจสุขภาพประจำปี

ผู้แต่ง

  • สิริน ฟองศิริไพบูลย์ คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การตรวจสุขภาพ/ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

       บทความนี้เป็นบทความปริทัศน์ วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับการตรวจสุขภาพได้ทราบ และเข้าใจถึงผลการรายงานของการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ หลังจากได้รับผลการตรวจสุขภาพในแต่ละครั้ง การตรวจสุขภาพมีมากมายหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับ เพศ ช่วงอายุ ประวัติการทำงานและชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล  โดยสามารถเลือกการตรวจสุขภาพได้ตามความเหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้เราทราบภาวะสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือสามารถได้รับการรักษาโรคที่ตรวจพบได้อย่างรวดเร็ว การตรวจวิเคราะห์เลือดทางห้องปฏิบัติการ เป็นหนึ่งในวิธีการที่สำคัญเพื่อบ่งชี้การทำงานขออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย หรือเป็นการตรวจวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคหรือสภาวะบางอย่างที่ผิดปกติของร่างกายได้  ผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพจำนวนมาก เมื่อได้รับผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการจากโรงพยาบาล มักจะไม่เข้าใจความหมายของผลการตรวจวิเคราะห์ที่แสดงเป็นตัวเลข หรือข้อความจากห้องปฏิบัติการ จากข้อจำกัดดังกล่าวบทความนี้จึงได้รวบรวมคำอธิบายและความหมายของค่าตัวเลขหรือข้อความที่ปรากฏในใบรายงานผลตรวจวิเคราะห์เลือด เพื่อช่วยให้สามารถเข้าใจผลการตรวจเลือดได้ดียิ่งขึ้น (โดยหลักการแล้วควรได้รับการอธิบายจากแพทย์ หรือบุคลาการทางการแพทย์ เช่นนักเทคนิคการแพทย์เท่านั้น) แต่อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจเลือดเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถยืนยันความผิดปกติหรือโรคที่ตรวจพบได้ เนื่องจากโรคบางชนิด ต้องอาศัยการตรวจหลายอย่างเพื่อยืนยันผลและมีหลายปัจจัยที่ทำให้ผลตรวจเลือดอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติได้ และต้องได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นจึงจะสามารถยืนยันการเกิดโรคได้

References

บรรณานุกรม
1. กระทรวงสาธารณสุข. (2560), การตรวจสุขภาพที่จำเป็นและเหมาะสม สำหรับประชาชน
เข้าถึงได้จากhttp://www.imrta.dms.moph.go.th/imrta/images/ebook20170112.pdf.
2. สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย และ กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้าน อาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี. (2559, 20 มกราคม). แนวทางการตรวจและแปลผล สมรรถภาพการได้ยินในงานอาชีวอนามัย เข้าถึงได้จาก http://www.summacheeva.org/ documents/book_audiometry.pdf>.
3. เดชา ทำดี. (2559). หลักและวิธีการประเมินสุขภาพ: การซักประวัติ การตรวจร่างกายทั่วไป : การรักษาพยาบาลเบื้องต้น , เชียงใหม่วิทอินดีไซด์. 15-44.
4. วิทยา ศรีดามา. (2543). การสัมภาษณประวัติและตรวจร่างกาย. โครงการตําราจุฬาอายุรศาสตร คณะแพทยศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, พิมพ ครั้งที่ 9.
5. ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ, สกุนตลา แซ่เตียว และวรวรรณ จันทวรเมือง. (2015). Implementing the Objective Structured Clinical Examination (OSCE) to evaluate clinical skills in basic medical treatment of nursing students. Journal of Nursing Siam University. Vol.16 (3) :18-27.
6. รศ.ดร.พญ.นิศารัตน์ โอภาสเกียรติกุล. (2553). ทำไมต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ. Siriraj E-Public Library. https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-l/articledetail.asp?id=146.
7. ประสาร เปรมะสกุล. (2554) คู่มือแปลผลตรวจเลือด เลือด – การตรวจ เล่มสอง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, หน้า 416 .
8. Elaine M. Keohane. (2019). Rodak's Hematology: Clinical Principles and Applications. (6th Ed), Saunders Press.
9. John P. Greer. (2018). Wintrobe's Clinical Hematology st 1. (14th ed). Lippincott Williams – Wilkins Press.
10. Mary Lou Turgeon. (2018). Clinical Hematology: Theory and Procedures st 1. (6th ed). Lippincott Williams – Wilkins Press.
11. John W. Ridley. (2018). Fundamentals of the Study of Urine and Body Fluids. (1st ed). Springer Press.
12. Donald L. Price. (2019). Procedure Manual for the Diagnosis of Intestinal Parasites. (1st ed). Routledge Press.
13. Ben Davidson (2018). Serous Effusions: Etiology, Diagnosis, Prognosis and Therapy. (2nd ed). Springer Press.
14. Ronald Hoffman.(2018). Hematology: Basic Principles and Practice st 3. (7th ed). Elsevier Press.
15. Malhotra, B.D., & Panddey, C.M. (2017). Biosensor : Fundamentals and Applications. Shropshire : Smithers Press.
16.Washington D.C. (2017). Reference Ranges and What They Mean. American Association for Clinical Chemistry. Vol.19 (No.7) : p.1-10.
17. Madison WI, (2018, 9 October). Health Information: Understanding Lab Test Results: Topic Overview. University of Wisconsin Hospitals and Clinics Authority: UW Health [Internet]. Available from: : https://www.uwhealth.org/health/topic/special/understanding-lab-test-results/zp3409.html.
18. O'Kane MJ,& Lopez B.(2018, 19 June). Explaining laboratory test results to patients: what the clinician needs to know. BMJ [Internet]. Available from : https://www.bmj.com/content/351/bmj.h5552.
19. Constantino BT. (2015). Reporting and grading of abnormal red blood cell
morphology. International Journal of Laboratory Hematology.Vol 37(1): p 1-7.
20. Mayo Clinic.(2017,16 April). Complete blood count (CBC) [Internet]. Available from: http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/complete-blood-count/home/ovc-20257165.
21. Bethesda M.D. (2018,19 June): Understanding Laboratory Tests.. National Cancer Institute, U.S. Department of Health and Human Services; [Internet]. Available from: https://www.cancer.gov/about-cancer/diagnosis-staging/understanding-lab-tests-fact-sheet#q1.
22. Washington D.C. (2018,19 June). Deciphering Your Lab Report; Lab Tests. American Association for Clinical Chemistry; Online [Internet]. Available from: https://labtestsonline.org/articles/how-to-read-your-laboratory-report.
23. Middletown CT. (2018,19 June): Common Lab Tests Common Lab Tests. Middlesex Hospital. Available from: https://middlesexhospital.org/our-services/hospital-services/laboratory-services/common-lab-tests.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30