การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากสมุนไพรเหง้าต้นเข้าพรรษาต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus

Main Article Content

กนกวรรณ เอื้อเจริญ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากเหง้าต้นเข้าพรรษาต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus โดยนำเหง้าต้นเข้าพรรษาจำนวน 500 กรัม มาสกัดด้วยวิธีการหมักด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 7 วัน ได้ปริมาณผลผลิตของสารสกัดหยาบร้อยละ 1.6 ของน้ำหนักแห้ง หลังจากนั้นนำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียชนิด Staphylococcus aureus ด้วยวิธี Agar disc diffusion ที่ความเข้มข้นของสารสกัดเท่ากับ 100 50 และ 25 มก./ มล. ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดที่ได้จากเหง้าต้นเข้าพรรษาที่สกัดด้วยเอทานอล 95 เปอร์เซ็นต์ สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ S.aureus ได้ โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางบริเวณยับยั้งเฉลี่ยเท่ากับ 2.094±1.343 0.942±0.529 และ 0.802±0.604 มิลลิเมตร ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าฤทธิ์การยับยั้งเชื้อขึ้นกับความเข้มข้นของสารสกัดที่ใช้ ผลการศึกษาที่ได้คาดว่าจะเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ยาและสุขภาพ ในการยับยั้งหรือควบคุมจำนวนเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มมูลค่าของต้นเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกและแปรรูปสมุนไพรได้อย่างมีคุณภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปิยเกษตร สุขสถาน, ทยา เจนจิตติคุณ และ พัชรียา บุญกองแก้ว. (2555). โครงการย่อยการ รวบรวมคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชสกุลหงส์เหิน (Globba) ที่มีศักยภาพเชิงการค้า. รายงานวิจัย
ฉบับสมบูรณ์การพัฒนาพืชวงศ์ขิงเพื่อการส่งออก (หน้า 33-154). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
วารีรัตน์ หนูหีด. (2557). งานวิจัยเรื่องการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนบนพื้นผิวสัมผัสโดยใช้สารสกัดจากพืชตระกูลขิง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่ง
แวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วัชรินทร์ รังสีภาณุรัตน์, พัชรี กัมมารเจษฎากุล และ อิสยา จันทร์วิทยานุชิต. (2559). ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรไทย 10 ชนิด ต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ATCC
25923, Bacillus cereus และ Escherichia coli ATCC 25922. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 19(38), 35-48.
วันทนี สว่างอารมณ์ และ พาฝัน จันทร์เล็ก. (2555). กลไกการเปรียบเทียบผลของสารสกัดจากสมุนไพรต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus และ Escherichia coli. คณะ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สุกิจ ทองแบน, วัชรี หาญเมืองใจ และ อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้. (2558). การเสริมสร้างมูลค่าของน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพรท้องถิ่นสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนในชุมชนในพื้นที่ชุมชนสะลวง
อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่, สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
กระทรวงการสาธารณสุขและองค์การภาครัฐ-เอกชน. (2559). แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560-2564 ฉบับที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: บริษัททีเอส
อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2553). ฐานข้อมูลสมุนไพร. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2562, จาก htt://www.phargarden.com
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2560). ดอกเข้าพรรษา สีสันของฤดูฝน โดย ธิดารัตน์ จันทร์ดอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562, จาก
htt://www.pharmacy.mahidol.ac.th
สำนักงานส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). หงส์เหิน (ดอกเข้าพรรษา) โดย อรวรรณ วิชัยลักษณ์ และสุนทรี เรืองศรี. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม
2562, จาก htt://www. eto.ku.ac.th/neweto/e-book/plant/flower/globba.pdf
Anuthakoengkun A, Itharat A. (2014). Inhibitory effect on nitric oxide production and free radical scavenging activity of Thai medicinal plants in osteoarthritic
knee treatment. J Med Assoc. Thai, 97(8), 116-24.
Chaiyasut C, Chansakaow S. Inhibitory effects of some Thai plant extracts on AAPH-induced protein oxidation and protein glycation. (2007). Naresuan
University Journal, 15(1), 35-41.
Foster, T. (1996). Staphylococcus. Ins: Baron, S. (Ed.), Medical Microbiology. The University of Texas Medical Branch at Galveston, Galveston, TX.
Manokam N, Nuntawong N. (2014). Chemical constituents from the rhizomes of Globba reflexa Craib. Biochem Syste Ecol, 57, 395-398.
Rich, M. (2005). Staphylococci in animals: Prevalence, identification and antimicrobial susceptibility, with an emphasis on methicillin-resistant
Staphylococcus aureus. British Journal of Biomedical Science, 62(2), 98-105.