ปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน และศึกษาปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ทำการศึกษาในพนักงานระดับปฏิบัติการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดปทุมธานี จำนวน 50 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ค่าสถิติ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยพนักงานด้านทัศนคติในด้านความปลอดภัยและด้านนโยบายด้านความปลอดภัยใกล้เคียงกัน และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความด้านความปลอดภัยในการทำงาน ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัยมากที่สุด ( =2.34) รองลงมาเป็นการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ความปลอดภัยเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ( =2.30) ตามลำดับ ดังนั้นการปฏิบัติงานของพนักงานในระดับปฏิบัติการในเกิดความปลอดภัยควรที่จะมีการกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยให้ชัดเจนมากยิ่งขั้น เน้นย้ำถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน การใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย เพื่อที่จะป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และยังเป็นการช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีในด้านความปลอดภัยในการทำงานกับหน่วยงานอีกด้วย
Article Details
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใดๆ ที่นำเสนอในบทความเป็นของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว โดยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะกรรมการวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่อย่างใด มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ และกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาดหรือผลที่เกิดจากการใช้ข้อมูลที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้
References
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. [ออนไลน์]. ประวัติความเป็นมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563. เข้าถึงได้จาก : https://www.pea.co.th
หน้าที่ความรับผิดชอบของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเทิง (7 แผนก). (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.oic.go.th
สภาภรณ์ เซฟตี้ โซลูชั่น จำกัด. [ออนไลน์]. ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า.สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563. เข้าถึงได้จาก : https://www.supakornsafety.com
Richard Campbell. FATAL ELECTRICAL INJURIES AT WORK. (2018). [Internet]. [cited 2020 November 19]. Available from: https://www.nfpa.org//-/media/Files/News-and-Research/Fire-statistics-and-reports/Electrical/
osFatalElectricalInjuries.pdf
สุวัฒน์ เพ็งเจริญ. (2557). การศึกษาและวิเคราะห์การกระทำและสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย : กรณีศึกษาเชิงสำรวจโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มนำอัดลม. [โครงงานปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบันฑิต]. นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สุธาทิพย์ รองสวัสดิ์. (2554). ปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ที่มีผลต่อพฤติกรรมในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.เชียงใหม่. [การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กัญชลา ศรีสวัสดิ์. (2546). ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมต่อความปลอดภัยในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของคนงานส่วนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์เหล็ก ในจังหวัดสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คมสันต์ ธงชัยและคณะ. [อินเตอร์เน็ต]. ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการประสบอันตรายหรือบาดเจ็บจากการทำงานของคนงานก่อสร้างในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดขอนแก่น. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563. เข้าถึงได้จาก : http://research.mol.go.th/
เพ็ญนภา พู่กันงามและคณะ. [อินเตอร์เน็ต]. พฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมก่อสร้าง จังหวัดชลบุรี. พะเยาวิจัย. ม.ป.ป. 66-74. [เขาถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2563]. เขาถึงได้จาก : http://ohnde.buu.ac.th
สมถวิล เมืองพระ. (2537). การศึกษาพฤติกรรมอนามัยของคนงานในระดับปฏิบัติการ เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ โลหะเครื่องจักรและอุปกรณ์เขตอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา.วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.