การพัฒนาเม็ดบีดส์จากน้้ามันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ

ผู้แต่ง

  • วนิดา ไทรชมพู หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ภรณ์ประภา อ่วมนุช คณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา
  • กัลยา แสงฉวี
  • ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

บีดส์, น้้ามันหอมระเหย, Methicillin-resistant Staphylococcus aureus, MRSA

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) 6 สายพันธุ์ของน้้ามันหอมระเหย 5 ชนิดได้แก่ น้้ามันหอมระเหยจากผิวมะกรูด เหง้าข่า เหง้าขิง ล้าต้นเหนือดินของตะไคร้แกง และเปลือกอบเชย และคัดเลือกน้้ามันหอมระเหยที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ MRSA ดีที่สุด มาพัฒนาเป็นเม็ดบีดส์ เชื้อแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ MRSA DMST 20645, DMST 20646, DMST 20649, DMST 20651, DMST 20652, และ DMST 20654 ผลการศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ MRSA ของน้้ามันทุกชนิดโดยวิธี Broth microdilution พบว่าน้้ามันอบเชยมีฤทธิ์ดีที่สุดโดยมีค่า Minimal inhibitory concentration (MIC) ต่อเชื้อ MRSA แต่ละสายพันธุ์เท่ากับ1.562, 3.125, 3.125, 0.098, 6.25, และ 3.125 μg/ml มีค่า Minimum Bactericidal Concentration (MBC) เท่ากับ 6.25, 3.125, 3.125, 0.098, 6.25, และ 6.25 μg/ml ตามล้าดับ เมื่อน้าน้้ามันอบเชยมาพัฒนาเป็นเม็ดบีดส์โดยการ encapsulation ด้วยโซเดียมอัลจิเนตให้ได้เม็ดบีดส์ 3 สูตร คือสูตรอัลจิเนต 0.5%, 1% และ 3% พบว่าสูตรอัลจิเนต 0.5 % เก็บกักน้้ามันอบเชยได้น้อยที่สุด เม็ดบีดส์มีลักษณะเปื่อยยุ่ย สูตร 1% อัลจิเนต เก็บกักน้้ามันอบเชยได้ปานกลาง เม็ดบีดส์มีรูปทรงที่ดี บีบแตกได้ง่าย สูตร 3 % อัลจิเนตเก็บกักน้้ามันอบเชยได้มาก แต่เม็ดบีดส์มีความเหนียวและแข็งเกินไป การศึกษานี้สรุปได้ว่าเม็ดบีดส์ของน้้ามันอบเชยที่ใช้โซเดียมอัลจิเนต 1 % มา cross-link กับ Calcium Chloride เหมาะสมที่จะน้าไปพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์ในเภสัชภัณฑ์ต้านเชื้อ MRSA ต่อไป

References

1. ธเนศ พงศ์จรรยากุล. (2555). อัลจิเนต : พอลิเมอร์ธรรมชาติสู่ระบบน้าส่งยา. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

2. วรี ติยะบุญชัย. (2556). Microencapsulation. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อรุณลักษณ์ ลุลิตานนท์ และคนอื่นๆ. (2555, มกราคม). “การติดตามสถานการณ์ของเชื้อ methicillin-resistant Staphylococcus aureus ที่ไวต่อ vanomycin และ chlorhexidine ลดลงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์,” วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบ้าบัด, 24 (1), 22-28.

3. อิสยา จันทร์วิทยานุชิต และวัชรินทร์ รังสีภาณุรัตน์. (2556). แบคทีเรียทางการแพทย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : วีพริ้น.

4. Jai, P., et al. (2011). “Effect of cinnamaldehyde on biofilm formation and sar A expression by methicillin‐resistant Staphylococcus aureus,” Applied Microbiology, 53 (4), 409-416.

5. Kothari, C. R. (2004). Research Methodology Methods & Techniques. (2nd Revised Ed). New Delhi : New Age International Publishers.

6. Mallepally, R. R. (2009). Encapsulation and Controlled Release of Pharmaceuticals with Biodegradable Hyper branched Polyesters. Engineering doctoral. Technical Faculty University of Erlangen-Nuremberg.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29