ระบบและกลไกสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อการตรวจรับรองมาตรฐานการเกษตรสำหรับเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี แทนทัศน์ เพียกขุนทด1* รุ่งเกียรติ แก้วเพชร1 และฐิตา ฟูเผ่า2,
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างระบบและกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพส่งเสริมกระบวนการมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยในกลุ่มประมง พืช และปศุสัตว์ โดยการประเมินศักยภาพของเกษตรกรและจัดทำกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) เนื่องด้วยขาดความรู้ ความเข้าใจและไม่ทราบถึงข้อดี/ผลประโยชน์ที่จะได้รับ รวมถึงเกษตรกรไม่ให้ความสำคัญต่อการผลิตสินค้าตามมาตรฐาน GAP เพราะไม่พบช่องทางในการจำหน่ายสินค้าที่ให้ราคาผลผลิตสูงขึ้น จากการประเมินศักยภาพฯ คณะผู้วิจัยได้เพิ่มขั้นตอนจากระบบและกลไกเดิม 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและขั้นตอนการส่งเสริมด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าโดยทำงานประสานงานกับเจ้าหน้าที่การเกษตรระดับอำเภอและจังหวัด ผลจากขั้นตอนการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับ GAP พบว่า ร้อยละ 86 ของเกษตรกรได้มีความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์และเห็นถึงความสำคัญของการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมากขึ้นพร้อมที่จะนำความรู้และหลักการไปปรับใช้ในกระบวนการทางการเกษตร รวมทั้งเตรียมตัวสู่การรับรองมาตรฐานฯต่อไป ผลจากขั้นตอนส่งเสริมด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าปลอดภัย พบว่า เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 82 และทราบถึงวิธีการปรับใช้กับการขายสินค้าเพื่อให้ได้ราคาหรือผลกำไรที่สูงขึ้นได้ เป็นการเชื่อมช่องว่างในด้านความรู้และความเข้าใจในหมู่เกษตรกรช่วยให้ยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ปลอดภัยและมีช่องทางการจัดจําหน่ายที่มากขึ้น สิ่งนี้มีส่วนช่วยในเป้าหมายโดยรวมในการเพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยในภาคประมงพืชและปศุสัตว์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
Almerice, E. (2020). Factors affecting the adoption of GAP by grower in producing crops in
Phetchaburi Province, Thailand. Master of Science (Bioscience for sustainable agriculture),
Silpakorn University.
Booncharoen, C., and Kumar A. (2021). Attitudes, Perceptions, and On-Farm Self-Reported Practices of Shrimp Farmers’ towards Adoption of Good Aquaculture Practices (GAP) in Thailand. Sustainability. 13(9): 5194 ;https://doi.org/10.3390/su13095194
Department of Fisheries. (2022). Fisheries Department regulations on issuing certificates of good
aquaculture practices for fisheries. Aquatic Animal Production (GAP) 2010.
Retrieved December 10, 2022, from https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/
_new.pdf. [In Thai].
Department of Livestock Development. (2022). Manual for inspection and certification. Good
agricultural practices for livestock for Inspection Unit. Agricultural Cooperative Assembly
Printing House Thailand Limited: Bangkok. [In Thai].
National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards Ministry of Agriculture and
Cooperatives. (2012). Certification criteria Good Agricultural Practice Standards (Certification
Scheme for Good Agricultural Practices). Retrieved December 10, 2022,
From http://www. acfs.go.th. [In Thai].
Suphan Buri Provincial Agriculture & Cooperatives Office. (2024) Retrieved June 10,
, From https://www.opsmoac.go.th/suphanburi-dwl-preview-421991791795 [In Thai].
Suppadit, T., Phumkokrak, N. and Poungsuk, P. (2006). Adoption of Good Agricultural Practices for beef cattle farming of beef cattle raising farmer in Tumbol Hindard, Dankhunthod district, Nakorn Rachasima Province, Thailand. KMITL Sci. Tech. J, 6 (2), 67-73.
Worangkana Ruenthip. (2013). Factors affecting the decision to join the Good Agricultural Practices system of Thai orchid farmers. Kasetsart University/Bangkok.
DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/KU.the.2013.446. [In Thai].