การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรแบบครบวงจร บ้านนาตัง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ขัตติยา มูลไชยสุข1, วาทการ มูลไชยสุข1*, ขวัญเรือน ภูษาบุญ2 และณัฐพงษ์ มิ่งพฤกษ์1

Main Article Content

watakarn moonchaisook

บทคัดย่อ

การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรแบบครบวงจร บ้านนาตัง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้การ      ปลูกสมุนไพร พัฒนาชุดเครื่องบดสมุนไพรและพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด       ให้กับกลุ่มปลูกสมุนไพรบ้านนาตัง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและกิจกรรมการพัฒนา โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน


ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรกลุ่มปลูกสมุนไพรบ้านนาตัง มีความรู้     ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืช สามารถปรับปรุงคุณภาพดินในเบื้องต้นได้และมีความสนใจผลิตดินปลูกใช้เอง เนื่องจากมีส่วนช่วยในการ   เพิ่มธาตุอาหารในดิน มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น คือชุดเครื่องบดสมุนไพร โดยเป็นเครื่องบดที่ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าพร้อมตู้ควบคุมการทำงาน ซึ่งเป็นนวัตกรรมพร้อมใช้มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูป นอกจากนี้ยังมีความรู้   ความเข้าใจกลยุทธ์ทางการตลาดรวมทั้งการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์โดยสามารถสร้างเพจเฟชบุ๊กและร่วมกันตั้งชื่อว่า “บุลาเฮิร์บ” เพื่อเป็นช่องทาง                     การประชาสัมพันธ์และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ซึ่งจะทำให้มีรายได้มากขึ้น และคาดว่าจะช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกสมุนไพรและเพิ่มความหลากชนิดของสมุนไพรเพื่อทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2556). ดินของประเทศไทย. กระทรวงเกษตรศาสตร์และสหกรณ์. กรุงเทพฯ.

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2552). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:

เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

ไทยโพสต์. (2566). กรมการแพทย์แผนไทยฯ ประกาศ 15 สมุนไพร เป็น Herbal champions จ่อตีตลาดโลก. เข้าถึง

เมื่อ 9 พ.ค 2566, เข้าถึงได้จาก: https://www.thaipost.net/human-life-news/345886/.

นงลักษณ์ จิ๋วจู, ทิพย์วรรณ ศิบุญนันท์, ชญานันท์ ศิริกิจเสถียรและวีรวรรณ แจ้งโม้. (2559). การพัฒนาการแปรรูปพืช

สมุนไพรตามภูมปัญญาท้องถิ่น จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา:บ้านโพธิ์พัฒนา ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขา

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(พิเศษ พฤศจิกายน 2559), 83-93.

เพ็ญธิดา ทิพย์โยธา. (2548). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศ (ตอนที่ 2). วารสารการแพทย์

แผนไทยและแพทย์ทางเลือก. 3 (3) :77-82.

มาลี บรรจบและดรุณ เพ็ชรลาย. (2538). แนวทางการผลิตวัตถุดิบสมุนไพร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2565). เศรษฐกิจชุมชน “นุ่งไหม ใส่ประเกือม เรือมกันตรึม” ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอ

เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. เข้าถึงเมื่อ 13 ตุลาคม 2565, เข้าถึงได้จาก:

https://web.codi.or.th/20190822-7733/.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร). (2566).

โครงการการศึกษาปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน. เข้าถึงเมื่อ 19 มี.ค 2566, เข้าถึงได้จาก:

https://www.rdpb.go.th/th/Studycenter/.

สำนักงานคณะกรรมการสาธารณสุขมูลฐาน กระทรวงสาธารณสุข. (2542). สมุนไพรในงานสาธารสุขมูลฐาน.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์. (2561). จังหวัดสุรินทร์เปิดเทศกาลชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีอำเภอ

เขวาสินรินทร์ หมู่บ้านเครื่องเงินโบราณที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ. เข้าถึงเมื่อ 22 ต.ค. 2561,

เข้าถึงได้จาก: https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TNECO6110220010016.

สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม. (2566). ผ้าโฮล. เข้าถึงเมื่อ 5 เม.ย 2566, เข้าถึงได้จาก:

https://qsds.go.th/silkcotton/k_1.php.

Bhattarai A., Bhattarai B. and Pandey S. (2015). Variation of soil microbial population in different soil

horizons. Journal of Microbiology & Experimentation; 2(2): 75-78.