ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อเกษตรกรรมยุคดิจิทัลของเกษตรกรรุ่นใหม่ภาคกลาง ประเทศไทย สุภาวิตา คล้ายสอน1, สุเพชร จิรขจรกุล1,*

Main Article Content

สุเพชร จิรขจรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อเกษตรกรรมยุคดิจิทัลของเกษตรกรรุ่นใหม่ภาคกลาง โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกร young smart farmer ภาคกลาง จำนวน 169 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 โดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมิน 1) ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อเกษตรกรรมยุคดิจิทัล 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อเกษตรกรรมยุคดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่าเฉลี่ย และหาค่าความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่าเกษตรกรที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 41–55 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 43.79 อยู่ในจังหวัดสิงห์บุรี ร้อยละ 18.34 มีรายได้อยู่ในช่วง 100,001–250,000 บาทต่อปี ร้อยละ 30.77 และระดับความรู้ด้านเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตรยุคดิจิทัลอยู่ในระดับน้อย โดยเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านของความรู้ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ (solar energy) (ค่าเฉลี่ย 2.67±1.03) อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (geographic information system; GIS)  (ค่าเฉลี่ย 2.52±1.05)  ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (global positioning system; GPS) (ค่าเฉลี่ย 2.14±1.08) โดรนเพื่อการเกษตร (ค่าเฉลี่ย 2.07±1.00) และอินเทอร์เน็ตในสรรพสิ่ง (internet of things; IoT) เพื่อการเกษตรอัตโนมัติ (ค่าเฉลี่ย 1.94±1.05) อยู่ในระดับน้อย จากผลการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อเกษตรกรรมยุคดิจิทัล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ มีความสัมพันธ์กับความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากผลการศึกษาที่เกษตรกรต้องการความรู้เพิ่มเติม 3 ลำดับแรก ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ นวัตกรรมอินเทอร์เน็ตในสรรพสิ่งเพื่อการเกษตร และเครื่องจักรกลเกษตร โดยมีความต้องการเพื่อนำไปลดต้นทุน ลดแรงงาน และเพิ่มผลผลิต ตามลำดับ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Das, V., Sharma, S., and Kaushik, A. (2019). Views of Irish farmers on smart farming technologies: An observational study. AgriEngineering, 1(2), 164–187; https://doi.org/10.3390/agriengineering1020013.

Department of Agriculture Extension, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2016). The future and direction of Thai agricultural sector. National Office of Buddhism Publisher, 4–6. [In Thai].

Isarakul, N. and Sriboonruang, P. (2022). Factors Relating to Social Media Literacy of Young “Smart Farmers”. King Mongkut’s Agriculture Journal, 40(1), 85–93. [In Thai].

Khrutmuang Sanserm, S., Tangwiwat, P., Yooprasert, B., Keowan, B., and Rattanacharoern, N. (2022). Information technology usage for economic crop production of farmers. STOU Journal of Agriculture, 3(1), 31–44. [In Thai].

Konkhayun, W., Anusontpornperm, S., and Kongsila, T. (2021). Self-development needs of agricultural promotions officers, department of agricultural promotions. King Mongkut’s Agriculture Journal, 39(3), 231–238. [In Thai].

Maksamut, K., Tongdeelert, P., and Rangsipaht, S. (2019). Use of information and communication technology for agriculture of ornamental plant growers klong 15, Ongkrarak district, Nakhon Nayok province. Khon Kaen Agriculture Journal, 41(3), 549–558. [In Thai].

Palinthorn Lapjit, F., Udomsade, J., and Kongsila, T. (2018). Agricultural information exposure of future farmers of Thailand organization members in northeastern region. Khon Kaen Agriculture Journal, 46(2), 387–396. [In Thai].

Phromkiang, C., Kanokhong, K., Fongmul, S., and Kruekum, P. (2019). Knowledge and practice in accordance with good agricultural practice of farmers growing mulberry in Chalermprakiat district, Nan province. Journal of Agriculture Research and Extension, 37(1), 52–63. [In Thai].

Puklik, K., Aungudornpukdee, P., Kiakijroj, K., Thongsanit, P., and Hinhumpatch, P. (2016). The association between demographic factors and health beliefs toward pesticide buying behavior among famers. Disease Control Journal, 42(4), 348–359. [In Thai].

Rerngart, K., Tongdeelert, P., and Rangsipaht, S. (2019). Use of technology for Increasing sugarcane production of farmers, Phu Khiao district, Chaiyaphum province. Khon Kaen Agriculture Journal, 47(4), 715–210. [In Thai].

Wannaree, k., Somchai, A., and Tanin, K. (2021). Factors correlated with the need for skills development of agricultural promotions scholars who work for the department of agricultural promotions. King Mongkut's Agricultural Journal, 39(2), 119–129. [In Thai].

Yaemkong, S., Nguyen Ngoc, T., Kotom, P., Jaipong, P., Noinumsai, P., Yaemkong, S., and Seema, P. (2018). The study on farmers' knowledge and behavior in using of chemicals for protection and pest elimination in Pho Thale sub-district, Pho Thale district, Phichit province. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 12(2), 444–454. [In Thai].