ผลของการผสมพันธุ์กล้วยไม้เขากวางอ่อนต่อการติดฝักและการงอกของเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ เชน จิน และ นิภาวรรณ์ จิตโสภากุล*

Main Article Content

นิภาวรรณ์ จิตโสภากุล

บทคัดย่อ

กล้วยไม้เขากวางอ่อนเป็นกล้วยไม้กระถางขนาดเล็กในสกุลฟาแลนอปซีส  นิยมใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการผลิตกล้วยไม้ลูกผสม  การผลิตกล้วยไม้เขากวางอ่อนโดยการผสมพันธุ์ตัวเอง และผสมข้ามดอก ใช้ดอกที่มีสี และลายของดอกแตกต่างกัน 4 แบบ ทั้งหมด 16 คู่ผสม พบว่า สามารถผลิตกล้วยไม้เขากวางอ่อนลูกผสมที่สามารถติดฝักได้ทั้งหมด 8 คู่ผสม  และร้อยละการติดฝักเฉลี่ย 56.28  โดยเป็นลูกผสมที่เกิดจากการผสมตัวเอง 1 คู่ผสม  และผสมข้าม 7 คู่ผสม  อายุฝักแก่ของกล้วยไม้เขากวางอ่อนลูกผสมเฉลี่ย 141 วัน และขนาดฝักกว้างเฉลี่ย 1.0 เซนติเมตร และยาวเฉลี่ย 3.4 เซนติเมตร เมื่อนำเมล็ดกล้วยไม้เขากวางอ่อนลูกผสมทั้งหมด 8 คู่ผสม เพาะเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตร Vacin and Went (1949) ที่เติมน้ำมะพร้าว 150 มิลลิลิตรต่อลิตร น้ำตาล 20 กรัมต่อลิตร และ pH 5.2  เพาะเลี้ยงในที่มืด ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส พบว่า เมล็ดของกล้วยไม้เขากวางอ่อนลูกผสมสามารถงอกเป็นโปรโตคอร์ม เมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลาเฉลี่ย 16 วัน  และโปรโตคอร์มสามารถเจริญเป็นต้นที่มีรากสมบูรณ์เมื่อเลี้ยงบนอาหารแข็งสูตรดัดแปลง Vacin and Went (1949) ที่เติมน้ำมะพร้าว 150 มิลลิลิตรต่อลิตร กล้วยหอม 100 กรัมต่อลิตร น้ำตาล 20 กรัมต่อลิตร ผงถ่าน 1 กรัมต่อลิตร และ pH 5.2  เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 120 วัน ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ให้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน      

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ครรชิต, ธรรมศิริ. (2550). เทคโนโลยีการผลิตกล้วยไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.

ณัฐา, ควรประเสริฐ. (2548). กล้วยไม้วิทยา 1. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

วุฒิชัย, ศรีช่วย และ สมปอง เตชะโต. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์กล้วยไม้เขากวางอ่อน (Phalaenopsis cornu-cervi (Breda) Blume & Rchb.f.) โดยการชักนาเป็นพืชต้นใหม่จากแคลลัส. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 1(2), 13–18.

Eymar, E., Alegre, J., Toribio, M., Lo´pez-vela, D. (2000). Effect of activated charcoal and 6-benzyladenine on In Vitro nitrogen uptake by Lagerstroemia indica. Plant Cell Tissue and Organ Culture, 63(1), 57–65.

Murashige, T., and Skoog, F. (1962). A revised medium for rapid growth and bioassays with tobacco tissue cultures. Physiologia Plantarum, 15(3), 473–497.

Park, S.Y., Murthy, H.N., and Paek K. Y. (2002). Rapid propagation of Phalaenopsis from floral stalk-derived leaves. In Vitro Cellular and Developmental Biology-Plant, 38(2): 168–172.

Parton, E., Vervaeke, I., Delen, R., Vandenbussche, B., Deroose, R., and De Proft, M. (2002). Viability and storage of bromeliad Pollen. Euphytics, 125(2), 155–161.

Rittirat, S., Kongruk, S., and Te-chato, S. (2012). Induction of Protocorm-like bodies (PLBs) and plantlet regeneration from wounded protocorms of Phalaenopsis cornu-cervi (Breda) Blume and Rchb. f. Journal of Agricultural Technology, 8(7), 2397–2407.

Rittirat, S., Klaocheed, s., Thammasiri K. (2014). Enhanced Efficiency for propagation of Phalaenopsis

cornu-cervi (Breda) Blume & Rchb. F. using trimmed leaf technique. International Journal of Biological, Life and Agricultural Sciences, 8(4), 358–361.

Rittirat, S., Te-chato, S., Kongruk, S., and Khaimuk, W. (2010). Micropropagation of Chang Daeng (Rhynchostylis rubrum) by embryogenic callus. Songklanakarin Journal of Science and Technology, 33(6), 659–663.

Song, J. and Tachibana, S. (2007). Loss of viability of tomato pollen during long-term dry storage is associated with reduced capacity for translating polyamine biosynthetic enzyme genes after rehydration. Journal of Experimental Botany, 58(15–16), 4235–4244.

Tanaka, M., and Sakanishi, Y. (1976). Clonal propagation of Phalaenopsis by leaf tissue culture. American Orchid Society Bulletin, 46(8), 733–737.

Vacin, E. and Went, F. (1949). Some pH changes in nutrient solution. Botanical Gazette, 110(4), 605–613.

Zahara, M., Datta, A., Boonkorkaew, Patchareeya., Mishra, A. (2017). The effects of different media, sucrose concentrations and natural additives on plantlet growth of Phalaenopsis hybrid ‘Pink’. Brazilian Archives of Biology and Technology, 60, 1–15.

Zhang, L.X., Chang, W.C., Wei, Y.J., Liu, L. and Wang, Y.P. (1993). Cryopreservation of Ginseng pollen. HortScience, 28(7), 742–743.