สภาวะที่เหมาะสมในการเก็บบ่มยางก้อนถ้วยที่ส่งผลต่อสมบัติยางธรรมชาติผสมยางสังเคราะห์ ฟาลิดา ศรีพรหม* สุภาวดี ธีรธรรมากร และ ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล

Main Article Content

ฟาลิดา ศรีพรหม

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเก็บบ่มที่ทำให้ปริมาณความชื้นของก้อนยางเหมาะสมต่อการผลิตยางธรรมชาติผสมกับยางสังเคราะห์ (MNR) ให้มีสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด และศึกษาปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ที่มีอิทธิพลต่อปริมาณความชื้นของก้อนยางและปริมาณเนื้อยางแห้ง ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
          การดำเนินการวิจัยเริ่มจากการศึกษาความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณเนื้อยางแห้ง สมบัติของยางก้อนถ้วย และสมบัติของยางแท่ง MNR  จากการเก็บบ่มแบบที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกกับการเก็บบ่มแบบมีพลาสติกปกคลุม จากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบข้อมูลเพื่อหาค่าคุณสมบัติที่ดีที่สุด
          ผลการศึกษา พบว่า การเก็บบ่มแบบมีพลาสติกปกคลุมจะให้ปริมาณเนื้อยางแห้งมากที่สุด คือ ร้อยละ 68.51 ฉะนั้นปริมาณความชื้นของก้อนยางจึงมีค่าร้อยละ 31.49 ที่ความชื้นสัมพัทธ์โดยรอบของบ่อเฉลี่ยร้อยละ 93 ช่วงเวลา 05.00 น. ในตำแหน่งท้าย  ในส่วนสมบัติของยางก้อนถ้วยที่ทำการเก็บบ่มแบบมีพลาสติกปกคลุม ณ ตำแหน่งท้ายในช่วงเวลา 05.00 น. มีค่าความอ่อนตัวเริ่มต้นของยางดีที่สุด คือ 45.7 และค่าดัชนีความอ่อนตัวของยาง อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด คือ 68.2   และจากการผลิตยางแท่ง MNR ด้วยยางก้อนถ้วยที่เก็บในตำแหน่งท้ายบ่อ มีสมบัติยางแท่งที่ดีอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดของบริษัทซึ่งอ้างอิงจากมาตรฐานยางแท่งไทย  และปัจจุบันยังสามารถลดปริมาณของเสียเหลือร้อยละ 0.63 โดยสามารถลดปริมาณของเสียได้ถึงร้อยละ 1  


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กฤษฎา สุชีวะ. (2558). การพัฒนาอุตสาหกรรมยางอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2561. จาก https://1th.me/kTXWD

กฤษฎา สุชีวะ. (2558). ภัยคุมคามจากยางสังเคราะห์. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2561. จาก https://1th.me/kTXWD

คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2555). การทดสอบค่าความหนืดมูนนี่ตามมาตรฐานสากล. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2561. จาก https://1th.me/0cqjt

จุฑารัตน์ อินทปัน และคณะ. (2552). คุณลักษณะของการบ่มยางก้อนถ้วยจากยางธรรมชาติในอุตสาหกรรมและสมบัติของยางแท่ง (วิทยานิพนธ์ระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางในการจัดเตรียมยางก้อนถ้วย

ก่อนนำมาใช้งาน. คู่มือคำแนะนำการผลิตยางเครปจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี, น.3. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2561. จาก http://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid=5346

ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางในการคัดเลือกยาก้อนถ้วยที่มีคุณภาพดี. คู่มือคำแนะนำการผลิตยางเครปจากยางก้อนถ้วยคุณภาพดี, น.2. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2561.

จาก http://www.raot.co.th/ewt_dl_link.php?nid=5346

พงษ์ธร แซ่อุย. (2547). ยาง ชนิด สมบัติ และการใช้งาน. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2561. จาก https://1th.me/qNoeE

วราภรณ์ ตันรัตนกุล และคณะ. (2550). ปัจจัยการบ่มที่มีผลต่อสมบัติทางกายภาพของยางก้อนถ้วย (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทวัส ปักนก และคณะ. (2560). ปัจจัยของวัตถุดิบยางก้อนถ้วยต่อการเกิดจุดขาวและสมบัติของยางแท่งเกรด

(วิทยานิพนธ์ต้นฉบับ). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยางไทย. (2553). อุตสาหกรรมต้นน้ำ. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2561.

จาก http://rubber.oie.go.th/box/Article/25143/1¬_ยางก้อนถ้วย.pdf

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ. (2557). อุตสาหกรรมยางรถยนต์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2561.

จาก https://1th.me/GUFlS

สถาบันพลาสติก. (2556). ยางแท่ง (Standard Thai Rubber; STR). สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562.

จาก http://www.research-system.siam.edu/images/Accountancy358/030/07_ch2.pdf

สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร. (2553). อุตสาหกรรมกลางน้ำ. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2562.

จาก http://rubber.oie.go.th/box/Article/4438/rubber-2nd_STR_4438_1.pdf

สุภวรรณ ฏิระวณิชย์กุล และคณะ. (2548). พารามิเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์การอบแห้งยางธรรมชาติ (วิทยานิพนธ์ต้นฉบับ). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่