การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมไทยด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม กรธวัช อัศวภูมิ จุมพล ผลจันทร์ ชวาลิน เนียมสอน และ สุภารัตน์ คุ้มบำรุง*
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมไทยด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีไทยในรูปแบบเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม สำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และเพื่อรวบรวมและเผยแพร่วัฒนธรรมไทยโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แอปพลิเคชันสามารถแสดงข้อมูลของวัฒนธรรมและประเพณีไทยทั้ง 4 ภาค ผ่านหนังสือภาพวัฒนธรรมไทย ในรูปแบบภาพการ์ตูน 3 มิติด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม มีเสียงบรรยายที่มีความน่าสนใจมากขึ้น ผลการทดสอบใช้งานแอปพลิเคชันที่มีโดยกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน พบว่า ระดับความพึงพอใจด้านฟังก์ชันการทำงานของแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.739) และระดับความพึงพอใจด้านการออกแบบแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.708)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
จันทร์จิรา นทีและแคทรียา หน่อยศ. (2560). การออกแบบหนังสือเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่องการละเล่นของเด็กไทย. วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม หลักสูตรออกแบบสื่อสาร สาขาการออกแบบ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
สมพร อ่อนน้อมและคณะ (2562). สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
อำไพ ยงกุลวณิช. (2560). การพัฒนาเอกสารแนะนำการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบเสมือนจริง. สืบค้น 6 ตุลาคม 2562, จาก https://www.kmutt.ac.th
ChaiPhonbopit. (2561). AR คืออะไร? + สามารถประยุกต์ใช้กับงานโฆษณาได้อย่างไรบ้าง? + AR ในปี 2018. สืบค้น 6 ตุลาคม 2562, จากhttps://medium.com.
Danakorn, N., Mohamad, B.A., Noor, A.H. Hishamuddin, A.R. (2013). Mobile Augmented Reality: The Potential for Education, Procedia - Social and Behavioral Sciences, 103, 657–664.
Lee, K. (2012). Augmented Reality in Education and Training. TECHTRENDS TECH TRENDS. 56, 13–21. https://doi.org/10.1007/s11528-012-0559-3.
Parentsone. (2561). รีวิวหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ 4.0 เพิ่มเทคนิค AR 3 มิติ เสริมสร้างการเรียนรู้. สืบค้น 17 สิงหาคม 2562, จากhttps://www.parentsone.com/review-science-book-ar/.
Lu, S. J., & Liu, Y. C. (2015). Integrating augmented reality technology to enhance children’s learning in marine education, Environmental Education Research, 21(4), 525-541. DOI: 10.1080/13504622.2014.911247
Thaicreate. (2559). รู้จักกับ Android คืออะไร ?. สืบค้น 6 ตุลาคม 2562 จากhttps://www.thaicreate.com/mobile/basic-android.html.
Unity3d-thailand. (2557). What is Unity. สืบค้น 6 ตุลาคม 2562 จาก https://unity3d-thailand.blogspot.com/2014/12/what-is-unity-unity3d-thailand.html.
Wikipedia. (2015). Vuforia Augmented Reality SDK?. สืบค้น 8 ตุลาคม 2562 จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Vuforia_Augmented_Reality_SDK.