การเพิ่มอัตราขยายชุดกำเนิดความถี่ไมโครเวฟสำหรับตู้อบแห้งสับปะรด ด้วยสายอากาศปากแตรรูปพีระมิด ธนาวุฒิ ธนวาณิชย์*, ภูมิพงษ์ ดวงตั้ง และ อนุสรุณ์ ใจแก้ว

Main Article Content

ธนาวุฒิ ธนวาณิชย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการเพิ่มอัตราขยายชุดกำเนิดสัญญาณความถี่ไมโครเวฟสำหรับตู้อบแห้งสับปะรดด้วยสายอากาศปากแตรรูปพีระมิด ในการออกแบบสายอากาศปากแตรรูปพีระมิดเพื่อเพิ่มอัตราการขยายสัญญาณความถี่ไมโครเวฟจากหลอดแม็กนีตรอนส่งผ่านท่อนำคลื่นตู้ไมโครเวฟขนาดเล็กจะทำการส่งคลื่นความถี่สูงหรือความถี่ไมโครเวฟผ่านท่อนำคลื่นแล้วส่งผ่านเข้าไปยังตู้อบหรือคาวิตี้ ในการออกแบบตู้อบแห้งด้วยความถี่ไมโครเวฟขนาดใหญ่การเพิ่มอัตราขยายสัญญาณความถี่ไมโครเวฟให้เพิ่มสูงขึ้นจึงมีความจำเป็นเพื่อรองรับการทำงาน การออกแบบสายอากาศปากแตรรูปพีระมิดที่ต่อร่วมกับท่อนำคลื่น WR340 จากการออกแบบสายอากาศที่นำเสนอสามารถทำงานที่ความถี่ 2.45 GHz ซึ่งเป็นความถี่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานสำหรับการให้ความร้อน จากผลการจำลองการทำงานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ทางด้านไมโครเวฟ พบว่าสายอากาศที่นำเสนอมีอัตราขยายเท่ากับ 13.7 dB โดยเพิ่มขึ้น10.03 dB เมื่อเทียบกับการส่งผ่านคลื่นไมโครเวฟด้วยท่อนำคลื่นเพียงอย่างเดียว

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กฤษณ์ อภิญญาวิศิษฐ์. อดิศักดิ์ นาถกรณกุล และ สมชาติ โสภณรณฤทธิ์. (2560). การออกแบบเครื่องอบแห้งด้วยไมโครเวฟร่วมกับลมร้อนแบบสายพานลำเลียงต้นแบบ. วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ฉบับที่ 45(3). 628 – 638.

Mutorlep Nisoa,Priwan Kerdtongmee. (2016). Development of Industrial Prototype of Microwave. The 20th International Drying Symposium. Japan.

วิบูลย์ ช่างเรือ. (2561). การให้ความร้อนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นวิทยุ. จาก http://www.phtnet.org/2018/09/1044/,สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม2561.

รังสรรค์ วงศ์สรรค์. (2555). วิศวกรรมสายอากาศ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Constantine A. Balanis. (2005). Antenna Theory Analysis and design (3th). John Wiley & Sons, Inc., Hoboken, New Jersey.

Pozar, D. M. (1990). Microwave Engineering 2nd edition. Addison-Wesley Pub., Massachusettes, USA.