การพัฒนาคุณลักษณะกระดาษฟางข้าวของวิสาหกิจชุมชนกระดาษฟางข้าว ตำบลกระแชง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
กระดาษฟางข้าว, สารประสานกระดาษ, คุณลักษณะกระดาษบทคัดย่อ
กระดาษฟางข้าวที่ผลิตด้วยวิธีพื้นบ้านมีคุณสมบัติจำกัดในการนำมาสร้างและออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การเพิ่มสารประสานได้แก่ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว และแป้งมัน ในอัตราส่วน 6% ต่อน้ำหนักเปียก ส่งผลดีต่อกระดาษในด้านค่าสี ค่าการต้านทานแรงดึงและความต้านทานการฉีกขาด ค่าความต้านแรงดันทะลุ และค่าแรงยึดเหนี่ยวภายใน โดยผลการศึกษาคือ ค่าสีที่วัดโดยระบบ L* a*และ b* พบว่า กระดาษฟางข้าวที่ใช้สารประสานแป้งข้าวเหนียว ได้ค่า L* คือ 84.83±0.02 ค่าสี a* คือ -0.11±0.02 แสดงลักษณะออกไปทางสีเขียวมากกว่ากระดาษอื่น แต่ถ้าดูลักษณะสีเหลืองซึ่งเป็นลักษณะสีพื้นฐานของฟางข้าวนั้นกระดาษฟางข้าวที่ใช้สารประสานคือแป้งมัน มีค่าสี b* คือ 18.69±0.01 และยังให้ค่าความสว่าง 48.9% ซึ่งให้ค่าที่สูงที่สุดที่ คุณสมบัติด้านความแข็งแรงของกระดาษได้ผลว่ากระดาษที่ใช้เยื่อฟางที่ผ่านการหั่นแบบสุ่มมีลักษณะสูงกว่ากระดาษฟางข้าวอื่นคือ ค่าการต้านทานแรงดึงและความต้านทานการฉีกขาด คือ 21.27 นิวตันเมตรต่อกรัม และ 4.7 มิลลินิวตันหรือกรัมแรง แต่กระดาษฟางข้าวผสมแป้งข้าวเจ้า แสดงค่าความต้านแรงดันทะลุและค่าแรงยึดเหนี่ยวภายใน ได้สูงสุดคือ 1.5 กิโลปาสกาลต่อตารางเมตร และ 266.29 จูลต่อตารางเมตร ผลความพึงพอใจสำหรับกระดาษฟางข้าวที่ได้รับคะแนนความชอบโดยรวมมากที่สุดคือกระดาษฟางข้าวที่ใช้ฟางหั่นแบบสุ่มซึ่งได้รับคะแนนความชอบโดยรวมระดับมาก ได้คะแนนเท่ากับ 4.16 และกระดาษฟางข้าวที่ใช้ฟางข้าวหั่นแบบสุ่มผสมกับสารประสาน ได้ผลว่าการใช้แป้งข้าวเจ้าได้รับคะแนนความชอบโดยรวมมากกว่าการใช้สารประสานอื่น คือ 3.33 คุณลักษณะกระดาษมีลักษณะสีขาวและความสว่างสามารถใช้เป็นวัสดุในงานวาดภาพและความแข็งแรงของกระดาษเป็นแนวทางในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนได้
Downloads
References
จุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์, วงศ์ทอง เขียนวงศ์ และจักฤษณ์ พนาลี. (2561). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เสริมภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากฟางข้าวสำหรับผลิตภัณฑ์ผลไม้แช่อิ่ม กรณีศึกษา: ชุมชนสี่แยกบ้านแขก แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 17(2), 35-44.
ชัยพร สามพุ่มพวง, รังสินี โสธรวิทย์, วุฒินันท์ คงทัด และวารุณี ธนะแพสย์. (2550). การพัฒนากระบวนการผลิตกระดาษฟางข้าวแบบพื้นบ้าน. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45: สาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์ สาขาอุตสาหกรรมเกษตร (น. 332-337). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนพรรณ บูญรัตกลิน, ทรงสิริ วิชิรานนท์ และ อุดม พลเยี่ยม. (2545). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษจากฟางข้าว. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตโชติเวช.
ภาวิณี เทียมดี และ บวรรัตน์ บึ้งสลุง. (2562). การประยุกต์ใช้แป้งมันสำปะหลัง 2 สายพันธุ์เพื่อผลิตถุงเพาะชำพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนครสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(2), 62-75.
วรรณภา อาบสุวรรณ. (2562). การพัฒนากระดาษฟางข้าวเคลือบฟิล์มลามิเนตสำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ (วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรินธร บุญยะโรจน์. (2559). การผลิตกระดาษทำมือจากหญ้าชันกาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (2555). ออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.
อรนุช คำแปน, ญาดา ลูนเฉริญ และชนิดา สายปัญญา. (2560). การพัฒนากระดาษจากฟางข้าวสำหรับงานดอกไม้ประดิษฐ์ บ้านขามสุ่มเวียง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ เทคโนโลยีอุตสาหากรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(5), 49-58.
อรัญ วานิชกร. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Leulee Nortoualee. (2564). การเพิ่มมูลค่าฟางข้าวโดยการผลิตเป็นกระดาษบรรจุภัณฑ์ (วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.