การศึกษาปริมาณวิตามินซี น้ำตาลรีดิวซ์ และกรดซิตริกในมะเขือเทศสด 6 สายพันธุ์

ผู้แต่ง

  • สุวิมล สืบค้า -มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

วิตามินซี, น้ำตาลรีดิวซ์, กรดอินทรีย์, มะเขือเทศ

บทคัดย่อ

วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อร่างกาย มีประโยชน์ช่วยเสริมภูมิต้านทานและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่าง ๆ ชะลอวัย และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย พบมากในผักและผลไม้ อย่างไรก็ตามวิตามินซีจะสลายตัวเมื่อโดนความร้อน ดังนั้นเพื่อให้ได้รับวิตามินซีจากธรรมชาติอย่างเพียงพอ ผู้บริโภคจึงควรรับประทานผัก และผลไม้สด มะเขือเทศเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งอุดมไปด้วยสารอารหารมากมาย และมีวิตามินซีสูง อีกทั้งยังมีปริมาณน้ำตาลต่ำ สามารถบริโภคสดได้ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาปริมาณวิตามินซี ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ และกรดอินทรีย์ในมะเขือเทศที่สามารถรับประทานสดได้ จำนวน 6 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ทับทิมแดง พันธุ์เยลโลบานาน่า พันธุ์โซลาริโน พันธุ์โรสเชอร์รี่ พันธุ์โทนี่ และพันธุ์สแนคสลิม โดยพบว่ามะเขือเทศพันธุ์โทนี่มีปริมาณวิตามินซีสูงที่สุดคือ 0.1187 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และมีปริมาณน้ำตาลต่ำที่สุดเพียง 1.25 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดปริมาณน้ำตาล ส่วนพันธุ์ที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุดคือ พันธุ์เยลโลบานาน่า และมีปริมาณกรดซิตริกต่ำ จึงมีรสชาติหวานนำ ส่วนมะเขือเทศพันธุ์โรสเชอร์รี่มีปริมาณกรดซิตริกสูงที่สุด คือ 0.71 ร้อยละโดยน้ำหนักต่อปริมาตร จึงมีรสชาติเปรี้ยวที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

นิรมล ธรรมวิริยสติ และปองรุ้ง จันทรเจริญ. (2557). การศึกษาผลการเสริมฤทธิ์ของมะเขือเทศราชินีด้วยวิตามินซีต่อความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระและการออกฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นันทยา จงใจเทศ, ปิยนันท์ อึ้งทรงธรรม และ พิมพร วัชรางค์กุล. (2557). ปริมาณน้ำตาลในผลไม้ไทย. นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย.

บุญส่ง เอกพงษ์. (2557) มะเขือเทศอุตสาหกรรมลูกผสมเปิดพันธุ์ใหม่ UBU 406. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 16(1), 76-82.

พงษ์เทพ เกิดเนตร. (2542). เทคโนโลยีผักและผลไม้. เอกสารประกอบการสอนวิชา 0404434 เทคโนโลยีผักและผลไม้. ภาควิชา อุตสาหกรรม คณะเกษตรศาสตร์นครศรีธรรมราช สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ สุทธจิตต์. (2550). วิตามิน. The Knowledge Center: กรุงเทพมหานคร.

สิรีรัตน์ ลิศนันท์ และสรรสนีย์ สีหาพงษ์. (2558) อัลตราไวโอเลตสเปกโทรสโกปีสำหรับการวัดกรดแอสคอบิคในเม็ดยาและผลมะเฟืองด้วยสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 8(2), 92-100.

Agiusa, C., Tucher, S., Poppenberger, B., & Rozhona, W. (2018). Quantification of sugars and organic acids in tomato fruits. MethodsX, 5, 537–550.

Association of Official Analysis Chemists (AOAC). (2000). Official Methods of Analysis of the Association of Official Analytical Chemists 17th Edited. Maryland: AOAC international.

Miller, G. L. (1959). Use of dinitrosalicylic acid reagent for determination of reducing sugar.Analytical Chemistry, 31(3), 420-428.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย