ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุคปกติใหม่ร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบผสมผสาน, บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ยุคความปกติใหม่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการหาพื้นที่สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 รวมถึงการศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจหลังการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 2 อิสาณธีรวิทยาคาร เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการหาพื้นที่ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบประสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที จากผลการวิจัยพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 4.43 และ 0.59 ตามลำดับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 4.49 และ 0.62 ตามลำดับ
Downloads
References
กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,
(2), 2-6.
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19 เอกสารเผยแพร่สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.
จตุพร ตันติรังสี. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยใช้การสอนแบบ ADDIE Model วิชา การใช้โปรแกรมกราฟิก. ปัญหาพิเศษ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ดาวรถา วีระพันธ์ และภูษณิศา ม่วงเกษม. (2561). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 8(3), 38-46.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2549). เครื่องมือวิจัยทางการศึกษา : การสร้างและการพัฒนา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์.
นพดล ผู้มีจรรยา และฐิตากร เพชรกันกิ่ม. (2564). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบซิปปาเรื่องข้อมูลสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดไผ่ล้อม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 19(2),
-350.
ปฐมพงษ์ พฤกษชาติ. (2562). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). เทคนิควิธีการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ดานสุทธาการพิมพ.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2563). ศาสตร์การวิจัย. พระนครศรีอยุธยา. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อารีย์ ปรีดีกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการสอนน้อยเรียนมาก TLLM เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในประชาคม ASEAN สําหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. รายงานสืบเนื่องจากการนําเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, 23 กรกฎาคม 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อินทิรา รอบรู้. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Foster, M. E., Anthony, J. L., Clements, D. H., Sarama, J., & Williams, J. M. (2016). Improving Mathematics Learning of Kindergarten Students Through Computer-Assisted Instruction, Journal for Research in Mathematics Education JRME, 47(3), 206-232.