การพัฒนาสื่อแอนิเมชัน เรื่อง การขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ปลอดภัย

ผู้แต่ง

  • Phairin Meesri VRU

คำสำคัญ:

การพัฒนาสื่อแอนิเมชัน, การขับขี่รถจักรยานยนต์, การขับขี่ปลอดภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อแอนิเมชัน เรื่อง การขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ปลอดภัย 2)  เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อแอนิเมชัน  และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานสื่อแอนิเมชัน  กลุ่มเป้าหมายใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อแอนิเมชัน จำนวน 3 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) สื่อแอนิเมชัน เรื่อง การขับขี่รถจักรยานยนต์ให้ปลอดภัย 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของสื่อแอนิเมชันโดยผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  ผลการศึกษาพบว่า 1) ได้สื่อแอนิเมชันที่เผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อแอนิเมชันโดยผู้เชี่ยวชาญ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานสื่อแอนิเมชันค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.53  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.53

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจน์กรอง สุอังคะ. (2559) การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิด อุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี:นครราชสีมา.

กัลป์ยกร วรกุลลัฏฐานีย์ และพรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. (2551). การโฆษณาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนา ศรีสวัสดิ์และดาราวรรณ ญาณะนันท์. (2561). ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย (น.131-139) วันที่ 1 มีนาคม 2561. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

ปฏิภาณ เย็นสวัสดิ์ และเกียรติขร โสภณาภรณ์. (2560). การพัฒนาสื่ออนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง “ขับขี่ปลอดภัยใส่ใจกฎจราจร”. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 (น.1214-1221) วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยบนท้องถนน. (2565). สถิติข้อมูลผู้เสียชีวิตสะสมประเทศไทย ปี 2565. สืบค้นจาก https://www.thairsc.com.

สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (2565) . รายงานสถิติการเกิดอุบัติเหตุจราจร เทศกาลปีใหม่ – สงกรานต์. สืบค้นจาก http://www.accident.or.th/index.php/2017-12-04-07-32-28/289-2565

อรวรรณ แซ่อึ้ง. (2563). ความพึงพอใจที่มีต่อแอนิเมชันเครื่องหมายจราจรประเภทป้ายบังคับ. Journal of Information Science and Technology. 10(2). 34-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31