การพัฒนาบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ A – Z ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม

ผู้แต่ง

  • Kittisak Singsungnoen -

คำสำคัญ:

บัตรคำศัพท์, ตัวอักษรภาษาอังกฤษ, ความเป็นจริงเสริม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ A – Z ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และประเมินคุณภาพของบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ A – Z ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาสื่อ จำนวน 5 ท่าน และครูโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในระดับชั้นอนุบาล จำนวน 20 ท่าน ด้วยวิธีการเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1)บัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ A – Z ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2)แบบประเมินคุณภาพบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ A – Z ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม และ 3)แบบประเมินความพึงพอใจบัตรคำศัพท์ภาษาอังกฤษ A – Z ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้วิจัยได้พัฒนาบัตรคำศัพท์ตัวอักษรภาษาอังกฤษ A – Z และแอปพลิเคชัน A – Z Vocabulary AR สำหรับใช้ในการแสดงผลความเป็นจริงเสริม 2. ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.51, S.D. = 0.36) และ 3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (  = 4.32, S.D. = 0.59)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน และคณะ. (2565). การพัฒนาแอปพลิเคชันตรวจสอบการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยแพลตฟอร์มแอปชีต. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 3(2). 17-28.

คณะกรรมการการศึกษาเอกชน, สำนักงาน. (2536). แนวและแผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อมภาษาอังกฤษ พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

ณัฐญา นาคะสัต์ และศุภรางค์ เรืองวานิช. (2559). Augmented reality : เติมชีวิตให้สื่อสิ่งพิมพ์ทางการศึกษา. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 34(2). 33-50.

เต็มศิริ บุญยสิงห์ และคณะ. (2532). นิตยสารรักลูก. 7(74).

บุญชม ศรีสะอาด. (2552). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยเล่ม 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

พรทิพา ทองสว่าง. (2527). พัฒนาการทางภาษาของเด็กไทยในระดับคำ. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2556). การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้(Augmented reality). เพชรบูรณ์: จุลดิศการพิมพ์.

ศักดินนท์ พุ่มพฤกษ์. (2559). การพัฒนาหนังสือความจริงเสริม วิชา การกระจายเสียงและแพร่ภาพ สำหรับนักศึกษานักศึกษาปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (ม.ป.ป.). ชุดกิจกรรม ALPHA KIDS เล่ม 1. บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด: กรุงเทพฯ.

เสาวลักษณ์ เหลืองทอง และปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ. (2562). ศึกษาคะแนนพัฒนาการด้านสติปัญญาในด้านความจำตัวอักษรภาษาอังกฤษ โดยใช้เกมการศึกษาของเด็กอนุบาล 3 โรงเรียนบ้านปากน้ำ อำเภอโพนทะเล จังหวัดพิจิตร. วารสารครุพิบูล. 7(1). 85-96.

Cambridge Compass Publishing. (ม.ป.ป.). การฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษ Phonics Adventures 1. บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด: กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31