การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • Sujarinee Sangwanna -

คำสำคัญ:

สื่ออินโฟกราฟิก, ความรู้ทางโภชนาการ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การให้ความรู้ผ่านการให้คำปรึกษาทางโภชนาการเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การใช้สื่อการสอนที่เข้าใจง่ายและน่าสนใจ จะทำให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคได้มากขึ้น โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การให้ความรู้ทางโภชนาการแบบตัวต่อตัวและแบบกลุ่มในโรงพยาบาลอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับผู้ป่วย ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบด้วย สาเหตุ อาการ การปฏิบัติตน และหลักการบริโภคอาหาร รวมถึงศึกษาผลจากการเรียนรู้ด้วยสื่ออินโฟกราฟิก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยสุ่มตัวอย่างอาสาสมัครผู้ป่วย ที่เข้ามารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลราชธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า สื่ออินโฟกราฟิกเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสามารถช่วยเพิ่มความรู้ทางโภชนาการของผู้ป่วยได้ เนื่องจากผลการทดสอบความรู้ทางโภชนาการพบว่า หลังการเผยแพร่สื่ออินโฟกราฟิกผู้ป่วยสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องมากกว่าผู้ที่ตอบผิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ก่อนเผยแพร่สื่อให้ความรู้ผู้ป่วยมีความรู้ไม่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs ความดันโลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานประจำปี 2563. กลุ่มยุทธศาสตร์ แผนและประเมินผล. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ชมชนก ศรีจันทร์. (2561). พัฒนาสื่อการสอนทางด้านโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเด็ก. The Journal online. 3(1).

ซากุระ จุน. (2558). Basic Infographic. แปลโดย ณิชมล หิรัญพฤกษ์. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

ธันยพร ธนารุณ. (2556). การออกแบบสื่อผสมเพื่อการเรียนรู้โรคเบาหวานในผู้ป่วยวัยชรา. Veridian E-Journal SU, 6(5).

สุจาริณี สังข์วรรณะ, ศกุนตาล์ มานะกล้า, จุฑาวรรณ นวลจันทร์คง, และ ปัทมาภรณ์ เจริญนนท์. (2564). การประเมินความพึงพอใจของสื่อให้ความรู้ทางโภชนาการสำหรับโรคเบาหวานแบบออนไลน์สำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแลในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 1, 23 สิงหาคม 2564, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, จังหวัดมหาสารคาม.

World Health Organization. (2022). Noncommunicable diseases. Retrieved from. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-dise ases

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31