สถานการณ์และแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Nahathai Chotklang -

คำสำคัญ:

ขยะอิเล็กทรอนิกส์, โลหะหนัก, การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง อุปกรณ์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เป็นที่ต้องการ ล้าสมัย หมดอายุการใช้งาน หรือไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป จากการใช้งานผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มมากขึ้นประกอบกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ทำให้แนวโน้มปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกันกับ ในประเทศไทย บทความนี้นำเสนอสถานการณ์ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ ประเภทขยะอิเล็กทรอนิกส์ โลหะหนักในขยะอิเล็กทรอนิกส์และการปนเปื้อน ผลกระทบของโลหะหนักในขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของมนุษย์ และแนวทางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยนำกฎหมายและกฎระเบียบ แนวคิด และเครื่องมือ เช่น หลัก 3R, หลัก EPR, แรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์ รวมถึงการมีส่วนร่วม นำมาบูรณาการใช้ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ถูกบังคับใช้ หากพระราชบัญญัติการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และของเสียจากการจัดการอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีผลใช้บังคับจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมในการดูแลและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของโลหะหนักได้   

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2551). ยุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการ (ฉบับที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550). กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2557). อนุสัญญาบาเซล ว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดน ของของเสียอันตรายและการกำจัด (BASEL CONVENTION ON THE CONTROL OF TRANSBOUNDARY MOVEMENTS OF HAZARDOUS WASTES AND THEIR DISPOSAL). กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). คู่มือพิกัดอัตราศุลกากรและรหัสสถิติเฉพาะสำหรับของเสียอันตราย ภายใต้อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุม การเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กระทรวงพาณิชย์. (2563). ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563.

กรมควบคุมมลพิษ. (2564ก). คู่มือแนวทางการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ (กรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน). กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2564ข). (ร่าง) พระราชบัญญัติการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฉบับใช้รับฟังความคิดเห็น. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2564ค). (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณาการ (พ.ศ. ๒๕๖๕ ๒๕๖๙). กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2565ก). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมควบคุมมลพิษ. (2565 ข). รายงานประจำปี 2564 กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). ขยะอิเล็กทรอนิกส์...ขุมทรัพย์ของธุรกิจรีไซเคิลขยะ ขณะที่การยกระดับการบริหารจัดการขยะและการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญต่อการเติบโตในอนาคต (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2823). สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/36144.aspx

เปรมฤดี กาญจนปิยะ และคณะ. (2554). e-waste เทคโนโลยีการจัดการซากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ และคณะ (2563). คู่มือการรื้อแยกซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ระดับชุมชนอย่างเหมาะสม โครงการการพัฒนารูปแบบระบบการรวบรวม ขนส่ง และจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และของเสียอันตรายชุมชน. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตรา วาสนาดำรงดี. (2558). สถานการณ์ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์. วารสารสิ่งแวดล้อม, 19(3), 1-18.

สุจิตรา วาสนาดำรงดี และปเนต มโนมัยวิบูลย์. (2558). แนวคิดในการจัดทำร่างกฎหมายจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. เอกสารประกอบการเสวนาวิชาการ เรื่อง “ขยะอิเล็กทรอนิกส์: จัดการอย่างไรให้ปลอดภัย?” วันที่ 12 มิถุนายน 2558 จัดโดย. สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตรา วาสนาดารงดี. (2563). หลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility) เครื่องมือในการจัดการขยะและส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน. วารสารสิ่งแวดล้อม, 24(2).

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2560). รายงานทีดีอาร์ไอ การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในประเทศไทย. ฉบับที่ 133 ตุลาคม 2560.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2564). E-Waste ปัญหาขยะที่เป็นภาระสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4287/

Chunling Luo., Zhenguo Shen., Laiqing Lou., Xiangdong Li. (2006). EDDS and EDTA-enhanced phytoextraction of metals from artificially contaminated soil and residual effects of chelant compounds. Environ Pollut. 144(3), 862-71.

European Commission/Recast of WEEE Directive. (2012). Database and WEEE classification listing. Countering WEEE Illegal Trade Project. Retrieved from https://ec.europa.eu/eurostat/cache/metadata/en/env_waselee_esms.htm

The WEEE Forum. (2021). International E-Waste Day: 57.4M Tonnes Expected in 2021. Retrieved from https://weee-forum.org/ws_news/international-e-waste-day

Robinson, Brett H. (2009). E-waste: An assessment of global production and environmental impacts. Science of the Total Environment. 408(2), 183-191.

Singh, M., Thind, P. S., & John, S. (2018). Health risk assessment of the workers exposed to the heavy metals in e-waste recycling sites of Chandigarh and Ludhiana, Punjab, India. Chemosphere. 203, 426-433.

Srigboh, R.K., Basu, N., Stephen, J., Asampong, E., Perkins, M., Neitzel, L.R., Fobil, J. (2016). Multiple elemental exposures amongst workers at the Agbogbloshie electronic waste (e-waste) site in Ghana. Chemosphere. 164, 68–74.

Thongkaow Pattida, Prueksasit Tassanee, Siriwong Wattasit. (2017). Material flow of informal

electronic waste dismantling in rural area of northeastern Thailand. Proceedings of 139th The IIER International Conference, Osaka, Japan, 8th-9th December 2017, 12-15.

Wath, Sushant B.; Dutt, P. S.; Chakrabarti, T. (2011). "E-waste scenario in India, its management and implications" (PDF). Environmental Monitoring and Assessment. 172 (1), 249–262.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30