ผลของสารสกัดใบน้อยหน่าในการควบคุมด้วงงวงข้าวสาร

ผู้แต่ง

  • ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ -

คำสำคัญ:

สารสกัดใบน้อยหน่า, การฆ่า, การไล่, การยับยั้งการเจริญเติบโต, ด้วงงวงข้าว

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือเพื่อศึกษาผลของสารสกัดใบน้อยหน่าในการเป็นสารไล่ สารฆ่าและสารยับยั้งการออกลูกหลานของด้วงงวงข้าวสาร โดยทดลองที่ระดับความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 2 และ 4% (w/v) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ความเข้มข้นละ 5 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ผลการทดลองพบว่าผลสารสกัดจากใบน้อยหน่ามีผลต่อการไล่ การฆ่า และการยับยั้งการออกลูกหลานของด้วงงวงข้าวสารได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม ที่ความเข้มข้น 4% มีประสิทธิภาพในการเป็นสารไล่ สารฆ่าและสารยับยั้งการออกลูกหลานของด้วงงวงข้าวสารสูงสุด โดยมีผลต่อการไล่ด้วงงวงข้าวสารเฉลี่ย 7.00 + 0.48 ตัว คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การไล่ 60% ที่เวลา 12 ชั่วโมง และมีผลต่อการไล่ด้วงงวงข้าวสารสูงสุดเฉลี่ย 10.00 + 0.00 ตัว คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การไล่ 100% เวลา 24 ชั่วโมง มีเปอร์เซ็นต์การตายของด้วงงวงข้าวสารสูงสุด 100% ค่า LC50 มีค่าเท่ากับ 0.88% ที่เวลา 48 ชั่วโมง ในการเป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตที่ความเข้มข้น 4% มีจำนวนตัวเต็มวัยที่ฟักออกมาเท่ากับ 8.56 + 1.06 ตัว คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการออกลูกหลานเท่ากับ 72.41% ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตเฉลี่ยเท่ากับ 38.88 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมมีจำนวนตัวเต็มวัยที่ฟักออกมาเท่ากับ 31.36 + 2.55 ตัว คิดเป็นเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการออกลูกหลานเท่ากับ 0.0% ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตเฉลี่ยเท่ากับ 28.30 วัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กฤษณธร สินตะละ, ประมวล เติมสมบัติถาวร, ณภัธ นรินทร์รัตน์ และสุธาทิพย์ ไชยวงศ์. (2562). การใช้สมุนไพรใบน้อยหน่ากำจัดเห็บโค. แก่นเกษตร (ฉบับพิเศษ). 2, 927-932.

พรทิพย์ วิสารทานนท์, พรรณเพ็ญ ชโยภาส, ใจทิพย์ อุไรชื่น, รังสิมา เก่งการพานิช, กรรณิกา เพ็งคุ้ม, จิราภรณ์ ทองพันธ์, ดวงสมร สิทธิสุทธิ์, ลักขณา ร่มเย็น, ภาวิณี หนูชนะภัย และอัจฉรา เพชรโชติ. (2550). แมลงที่พบในผลผลิตเกษตรและการป้องกันกำจัด. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร.

พิชชาภา ห้อมา และกรกฎ ไชยมงคล. (2563). น้อยหน่า. วารสารศููนย์์การศูึกษาแพทย์ศูาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 37(3), 262-264.

Abbott, W.S. (1925). A method for computing the effectiveness of an insecticide. Journal of Economic Entomology. 18(2), 265-267.

Coria-Te´llez, A.V., Montalvo-Go´nzalez, E., Yahia, E.M. & Obledo-Va´zquez, E.N. (2018).

Annona muricata: A comprehensive review on its traditional medicinal uses, phytochemicals, pharmacological activities, mechanisms of action and toxicity. Arabian Journal of Chemistry. 11, 662-691.

Finney, D.J. (1971). Probit Analysis. 3rd ed. London: Cambridge University Press.

Flay, C.D. (2010). Multiple mating and mate choice in Sitophilus oryzae (L.) (Coleoptera:

Curculionidae. M.S. Thesis. Massey University, Palmerston North, New Zealand. 83 p.

Jbilou, R., Amri, H., Bouayad, N., Ghailani, N., Ennabili, A. & Sayah, F. (2008). Insecticidal

effects of extracts of seven plant species on larval development, α -amylase activity and offspring production of Tribolium castaneum (Herbst) (Insecta: Coleoptera: Tenebrionidae). Bioresource Technology. 99, 959–964.

Kamara, J.S., Kanteh, S.M., Bockari-Gevao, S.M. & Sheku Jalloh, S. (2014). Infestation,

population density and sterilization effects on rice weevils (Sitophilus oryzae L.) in stored milled rice grains in Sierra Leone. International Journal of Agriculture and Forestry. 4(1), 19-23.

Leatemia, J.A. & Isman, M.B. (2004). Efficacy of crude seed extracts of Annona squamosa against diamondback moth, Plutella xylostella L. in the greenhouse. International Journal of Pest Management. 50(2), 129-133.

Mar, K.M. (2019). Insecticidal and repellant activities of sugar apple leave extract against

stored grain pest, Tribolium Castaneum (Herbst, 1797) (Coleoptera: Tenebrionidae). International Journal of Agriculture & Agribusiness. 3(1), 53-60.

Mondal, P., Biswas, S., Pal, K. & Ray, D.P. (2018). Annona squamosa as a potential botanical Insecticide for agricultural domains: a review. International Journal of Bioresource Science. 5(1), 81-89.

Saha, R. (2011). Pharmacognosy and pharmacology of Annona squamosa: a review. International Journal of Pharmaceutical and Life Sciences. 2(10), 1183-1189.

Syarifah Zulaikha, S.A., Halim, M., Nor Atikah, A.R. & Yaakop, S. (2018). Diversity and abundance of storage pest in rice warehouses in Klang, Selangor, Malaysia. Serangga. 23(1), 89-98.

Tatun, N., Vajarasathi, B., Tungjitwitayakul, J. & Sakurai, S. (2014). Inhibitory effects of plant extracts on growth, development and α-amylase activity in the red flour beetle Tribolium castaneum (Coleoptera: Tenebrionidae). European Journal of Entomology. 111(2), 181–188.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30