การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยและใบหญ้าหวานอบแห้งสำหรับการผลิตชาชงดื่ม
คำสำคัญ:
ชาชงดื่ม, สมุนไพรไทย, ใบหญ้าหวานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้มีการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรไทยและใบหญ้าหวานในผลิตภัณฑ์ชาชงดื่ม พบว่า ดอกบัวหลวง กะเพรา ตะไคร้ และผักชีลาวในรูปแบบผงและน้ำสมุนไพรมีค่าสีที่สอดคล้องกัน ผงตะไคร้มีค่าความสว่าง (L* = 71.30) ค่าความเป็นสีเหลือง (b* = 21.80) มากที่สุด ดอกบัวหลวงมีค่าสีแดงมากที่สุด (a* = 4.60) ผักชีลาวมีค่าสีเขียว (a* = -5.40) มากที่สุด สมุนไพรรูปแบบผงทั้ง 4 ชนิดมีค่ากิจกรรมของน้ำ (Water Activity, aw) อยู่ในระหว่าง 0.30-0.44 ปริมาณความชื้นอยู่ในระหว่างร้อยละ 5.34 – 8.38 โดยน้ำหนัก สมุนไพรรูปแบบน้ำมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 5.53 ถึง 7.63 เมื่อนำมาพัฒนาเป็นชาสมุนไพรชงดื่ม จำนวน 4 สูตร พบว่า สูตร A มีส่วนประกอบของดอกบัวหลวง กะเพรา ตะไคร้ ผักชีลาว คิดเป็นร้อยละ 25, 25 , 25 และ 25 ตามลำดับ ได้รับการยอมรับทางประสามสัมผัสในทุกด้านมากที่สุด ในชาชนิดผงมีค่าสี L* เท่ากับ 52.30, ค่า a* เท่ากับ 2.37, ค่า b* เท่ากับ 8.70, ค่า aw เท่ากับ 0.42 และปริมาณความชื้น เท่ากับร้อยละ 7.29 ส่วนน้ำชา มีค่า pH เท่ากับ 6.13, ค่าสี L* เท่ากับ 23.57, ค่า a* เท่ากับ 1.10 และค่า b* เท่ากับ 4.13 เมื่อนำมาศึกษาการเสริมใบหญ้าหวานในชาสมุนไพรที่ผ่านการคัดเลือก พบว่า สูตรที่มีส่วนผสมใบหญ้าหวานร้อยละ 3.5 โดยน้ำหนัก ได้รับการยอมรับจากผู้ทดสอบชิมมากที่สุด ในด้านสี, กลิ่น, รสชาติ และความชอบโดยรวม โดยชาชนิดผงชามีค่าสี L* เท่ากับ 25.60, ค่าสี a* เท่ากับ 3.03, ค่าสี b* เท่ากับ 5.27, ค่า aw เท่ากับ 0.37 มีปริมาณความชื้น เท่ากับร้อยละ 6.30 ส่วนน้ำชามีค่า pH เท่ากับ 7.43, ค่าสี L* เท่ากับ 26.23, ค่า a* เท่ากับ -2.40 และค่า b* เท่ากับ 0.47
Downloads
References
กฤติยา ไชยนอก. (2560). เครื่องดื่มเจียวกู่หลาน ดอกคำฝอย ใบหญ้าหวาน. สืบค้นจาก shorturl.at/qyLO1.
ดวงรัตน์ พรเทวบัญชา. (2554). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงโรยข้าว(ฟูริคาเกะ)จากผักสลัด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผจงจิต พิจิตบรรจง. (2558). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาสมุนไพรตะไคร้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพและการออกแบบการทดลอง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7(1), 46-57.
พิสมัย กุลกาญจนาธร. (2555). หวาน-ธรรมชาติ-เพื่อสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก shorturl.at/qtzN3.
พิสมัย กุลกาญจนาธร. (2557). หญ้าหวาน...หวานทางเลือก...เพื่อสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก shorturl.at/hvAW9.
วรรณิภา พาณิชกรกุล. (2016). ผลของอุณหภูมิในการอบแห้งต่อคุณภาพของดอกโสนและการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ขนมปัง. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 47-55.
สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2556). มาตรฐานผลิตภัณฑชุมชน มผช.996/2556 สมุนไพรรวมแห้งชงดื่ม. สืบค้นจาก https://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx
สุนทรี สิงหบุตรา. (2535). สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. กรุงเทพฯ: โอ. เอส.พริ้นติ้ง.
สุพิชญา คำคม. (2561). ผลของการเติมผงดอกโสนอบแห้งที่มีต่อลักษณะทางกายภาพ คุณค่าทางโภชนาการ และทางประสาทสัมผัสของคุกกี้เนย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(1), 139-154.
สุมาลี เหลืองสกุล. (2535). จุลชีววิทยาทางอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทร วิโรฒ ประสานมิตร.
อนงค์ ศรีโสภา และกาญจนา วงศ์กระจ่าง. (2563). การพัฒนาสูตรชาสมุนไพรใบหม่อนผสมสมุนไพรให้กลิ่นหอมที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเอนไซม์กลูโคซิเดส. Thai Journal of Science and Technology, 9(2), 218-229.
A.-R. Kim, S.-M. Jeong, M.-J. Kang, Y.-H. Jang, H.-N. Choi, and J.-I. Kim. (2013). Lotus leaf alleviates hyperglycemia and dyslipidemia in animal model of diabetes mellitus. Nutrition Research and Practice, 7(3), 166–171.
F. Bello, B. Maiha, and J. Anuka. (2016). The effect of methanol rhizome extract of Nymphaea lotus Linn. (Nymphaeaceae) in animal models of diarrhea. Journal of Ethnopharmacology, 190, 13-21
G. Ren and D. Yang. (2022). Antioxidant Activity of Different Extracts of lotus (Nelumbo Nuficera Gaertn) Rhizome by Gradient Solvent Extraction. Food Science and Technology, 42, 1-5.
Korir, M.W., Wachira, F.N., Wanyoko, J.K., Ngure, R.M. & Khalid, R. (2014). The fortification of tea with sweeteners and milk and its effect on in vitro antioxidant potential of tea product and glutathione levels in an animal model. Food Chemistry Food Chemistry, 145, 145-153.
S. Debnath, S. Ghosh, and B. Hazra. (2013). Inhibitory effect of Nymphaea pubescents Wild. flower extract on carrageenan induced inflammation and CCl4-induced hepatotoxicity in rats. Food and Chemical Toxicology, 59, 485–491.
Stintzing, C.F., Stintzing, A.S., Carle, R., Frei, B. and Wrolstad R.E. (2002). Colour and antioxidant properties of cyanidin-based anthocyanin pigments, J. Agri. Food Chem. 50. 6172-6181.
Wirivutthikorn, W. (2018). Effects of types and quantities of sweeteners on development of blended lotus root juice and goji berry product. In Proc. the 6th Academic Science and Technology Conference 2018, 6 June 2018. p. AS176-AS180.