การพัฒนาระบบจัดการสุนัขจรจัด ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูถัมภ์

ผู้แต่ง

  • Wisrut Kwankhoom Department of Electrical and Computer Engineering, Faculty of Engineering, Naresuan University, Phitsanulok 65000, THAILAND

คำสำคัญ:

ระบบจัดการสุนัขจรจัด, การพัฒนาระบบ, ปัญหาสุนัขจรจัด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และออกแบบระบบจัดการสุนัขจรจัดในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2) เพื่อพัฒนาระบบจัดการสุนัขจรจัดในมหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบจัดการสุนัขจรจัดในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลและความต้องการของระบบจัดการปัญหาสุนัขจรจัด ขั้นตอนการวิเคราะห์ และออกแบบระบบจัดการสุนัขจรจัด โดยการใช้เฟรมเวิร์ค Laravel และฐานข้อมูล phpMyAdmin และ ขั้นตอนการประเมินความพึงพอใจของระบบจัดการสุนัขจรจัดโดยใช้แบบประเมินออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่าระบบจัดการสุนัขจรจัดสามารถจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้แก่ ข้อมูลสุนัข ข้อมูลข่าวสาร และข้อมูลการติดต่อจากผู้ใช้งานเว็บไซต์ รวมไปถึงการแสดงตำแหน่งสุนัขบนแผนที่ Google Maps ทั้งนี้ระบบช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลระบบหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้ใช้ระบบที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ สามารถใช้งานเว็บไซต์ผ่านบนเครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้ดูแลระบบหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้สามารถตรวจสอบข้อมูลและจัดการข้อมูลต่าง ๆ ให้มีการอัปเดตข้อมูลอยู่สม่ำเสมอ ส่วนการประเมินความพึงพอใจแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านประสิทธิภาพและประโยชน์ของระบบและด้านการออกแบบของระบบ จากผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบในด้านต่าง ๆ จากกลุ่มผู้ใช้งานจำนวน 20 คน พบว่ามีค่าคะแนนความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.59) ถือว่าระบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. (2549). การออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ อี อิน โฟดิสทริบิวเตอร์ เซ็นเตอร์.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC). สืบค้น 18 กันยายน 2564, จาก: https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-30/2019-03-15-11-06-29

เกรียงไกร วิทยาอนิวรรตน์. (2551). การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทางโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บัญชา ปะสีละเตสัง. (2557). พัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นด้วย PHP MySQL และ jQuery. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์วีพริ้นท์.

พิสุทธิ์ วาประโคน. (2558). ระบบจัดการธนาคารขยะรีไซเคิล (โครงการนักศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อนัญญา พรมโคตร, ณภัทรวรัญญ์ ศรีฮาตร, และอุดม วงค์สุภา. (2558). การพัฒนาระบบการจัดการคลินิกโรงพยาบาลสัตว์เล็ก. SNRU Journal of Science and Technology, 7(2), 71-83. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/snru_journal/article/view/43651/36083.

อนิรุทธ์ โชติถนอม. (2561). การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลสัตว์เลี้ยง. วารสารวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์, 1(2), 112-125. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/jait/

article/download/140313/127510/

อมิตตา คล้ายทอง และสมพงษ์ จิรสวัสดิ์. (2555). ระบบฐานข้อมูลคลินิกรักษาสัตว์ กรณีศึกษา : คลินิกรักษาสัตว์ดงขุย อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์. ใน การประชุมทางวิชาการขอมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50 (น. 339-347). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28