การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาการตอบสนองและความล้าของพนักงานขับรถบรรทุกขนส่งสินค้า กรณีศึกษา: เขตพื้นที่ภาคกลางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อมตา อุตมะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์

คำสำคัญ:

เวลาปฏิกิริยาการตอบสนอง, ความล้า, พนักงานขับรถบรรทุก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปฏิกิริยาการตอบสนองและความล้าของร่างกายในพนักงานขับรถบรรทุกขนส่งสินค้า กรณีศึกษา: เขตพื้นที่ภาคกลางในประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน แบบทดสอบปฏิกิริยาการตอบสนอง ด้วย Application Reaction Test Glow และการประเมินความล้าด้วยเครื่อง Critical Flicker Frequency (CFF) จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นพนักงานชายจำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเชิงสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ของ Chi-Square Test ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 %

          ผลการศึกษาพบว่าพนักงานขับรถบรรทุกขนสินค้าอายุอยู่ในช่วง 40-55 ปี (ร้อยละ 46.0)  จากการศึกษาพบว่าปฏิกิริยาการตอบสนองหลังการปฏิบัติงานส่วนใหญ่อยู่ในระดับการตอบสนองช้า ร้อยละ 34.9 ความล้า (CFF) ร้อยละ 54.2 อาการเมื่อยล้าที่พบมากที่สุด คือ หลังส่วนล่างด้านซ้าย (ร้อยละ 36.0) ด้านขวา (ร้อยละ 32.0) สะโพก/ต้นขาด้านซ้าย (ร้อยละ 34) ด้านขวา (ร้อยละ 32.0) และหัวเข่าด้านซ้าย (ร้อยละ 30.0) ด้านขวา (ร้อยละ 24.0) ตามลำดับ ปัจจัยด้านการทำงานระยะเวลาในการพักเฉลี่ยต่อวันมีความสัมพันธ์กับเวลาปฏิกิริยาการตอบสนอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 (p=0.03) เนื่องจากเมื่อร่างกายได้รับการพักผ่อนทำให้ร่างกายมีความตื่นตัวและทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น ระยะเวลาในการพักเฉลี่ยต่อวันมีความสัมพันธ์กับอาการเมื่อยล้าของหัวเข่าด้านซ้าย-ขวา และชั่วโมงในการทำงานเฉลี่ยต่อวันมีความสัมพันธ์กับความล้า (CFF) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05            (p-value=0.01)  และอาการเมื่อยล้าของสะโพก/ต้นขาด้านขวา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.03) ตามลำดับ เนื่องจากท่าทางการนั่งขับรถติดต่อกันเป็นระยะเวลานานส่งผลให้เกิดความล้าสะสม

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนิษฐา บุญภา, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพม. (2556) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. สาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 8(2), 47-58.

กุณฑลีย์ บังคะดานรา, สรา อาภรณ์, อรวรรณ แก้วบุญชู, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความสามารถในการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุกสารเคมี. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(2), 62-71.

ณัชยา แซ่เจิ้น, กลางเดือน โพชนา, องุ่น สังขพงศ์. (2557). ความชุกและปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง กรณีศึกษา สถานีขนส่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัย มข, 19(1), 107-118.

นารา กุลวรรณวิจิตร. (2549). อัตราความชุกของการเกิดความอ่อนล้าขณะขับรถ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางในเส้นทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิชญา ศรีทอง. (2555). การสำรวจความล้าในการทำงานของพนักงานขับรถบรรทุกในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). ยะลา. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร.

Baulk, S.D., & Fletcher, A. (2012). At home and away: measuring the sleep of Australian truck drivers. Accident Analysis and Prevention, 455, 36-40.

Davenne, D., Lericollais, R., Sagaspe, P., Taillard, J., Gauthier, A., Espie, S., & Philip, P. (2010). Smart driving a new approach to meeting driver needs. Paper presented at International Conference on Industrial Engineering and Operations Management, Dhaka, Bangladesh.

Friswell, R., & Williamson, A. (2013). Comparison of the fatigue experiences of short haul light and long distance heavy vehicle drivers. Safety Science, 57, 203- 213.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27