ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของแคดดี้ กรณีศึกษาสนามกอล์ฟแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • Manasawee Thongsringklee Armed Forces Research Institute of Medical Sciences

คำสำคัญ:

แคดดี้, กอล์ฟ, อุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของผู้ประกอบอาชีพแคดดี้ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพแคดดี้จำนวน 156 คน การทดสอบไคสแควร์นำมาใช้ในการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 38.39±10.96 ปี รับรู้ด้านการจัดการความปลอดภัยในการทำงานอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 91.7 ทัศนคติด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 86.5 มีความรู้ด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 85.3 ส่วนใหญ่มีความเครียดในการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 53.8 ความชุกของการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 52.6 ลักษณะงานที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุครั้งที่รุนแรงที่สุดคือการขับรถคาร์ท คิดเป็นร้อยละ 26.8 ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพสมรส และทัศนคติด้านความปลอดภัยต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของแคดดี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ P-value < 0.017 และ P-value < 0.020 ตามลำดับ ดังนั้น จากผลของการศึกษา ทางสนามกอล์ฟควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้แคดดี้มีความตระหนักด้านความปลอดภัย ควรจัดการฝึกอบรมให้มีความถี่มากขึ้น นอกจากนี้ ควรจัดให้มีสวัสดิการคุ้มครองกรณีการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

จิรศักดิ์ อมรวัฒน์เลิศล้ำ. (2557). ระดับการรับรู้ระบบความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท จตุพรรีโนเวชั่น จำกัด. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ, 2(1), 32-46.

ฐาปนี วังกานนท์. (2556). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงาน. การค้นคว้า อิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). แคดดี้เศร้าโดนลูกกอล์ฟเข้าเบ้าตารักษา 7 เดือน คู่กรณีช่วยมา 5 พัน. ค้นเมื่อ

มกราคม 2564, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/north/1939591

สมดี หงส์ไพศาลวิวัฒน์. (2548). โอกาสและกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวกอล์ฟในประเทศไทย : กรณีศึกษาเฉพาะกลุ่มเอเชียแปชิฟิก ยุโรป และอเมริกา [ฉบับออนไลน์]. วารสารบริหารธุรกิจ, 28(107), 35-58.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ:กองสถิติพยากรณ์.

อรุณ จิรวัฒน์กุลและคณะ. (2550). ชีวสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 4). ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

Gharibi, V., Mortazavi, S. B., Jafari, A. J., Malakouti, J., & Abadi, M. B. H. (2016). The relationship between workers’ attitude towards safety and occupational accidents experience. International Journal of Occupational Hygiene, 8(3), 145-150.

Lim, S. J., Park, S. B. R., & Cho, S. S. A Study on the Improvement in Golf Safety Accident Through Typological and Recognition Analysis. ESMQ New Researcher Award, 573.

National Institute for Occupational Health (2019). Working Conditions and Health Outcomes of Caddies Working in Golf Courses in the City of Johannesburg. Retrieved from https://www.nioh.ac.za/wp-content/uploads/2019/08/Caddy-Report-Approved-Final.pdf

Park, W. J., Im, H. J., Won, J. U., Koh, S. B., Ju, Y. S., Roh, J. H., ... & Lim, J. W. (2009). Factors related to occupational injuries and health problems for some female workers in non-standard employment. Korean Journal of Occupational and Environmental Medicine, 21(4), 301-313.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30