ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพนักงานสำนักงานในโรงงานผลิตอาหารแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พชรกมล กลั่นบุศย์ หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สุรภา เอียดนุช เอียดนุช 2 หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ความเครียดจากการทำงาน, พนักงานสำนักงาน, โรงงานผลิตอาหาร, จังหวัดปทุมธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดจากการทำงานและปัจจัย   ที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจากการทำงานของพนักงานสำนักงานในโรงงานผลิตอาหารแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี โดยดำเนินการศึกษาวิจัยระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ในกลุ่มตัวอย่างพนักงานสำนักงานจำนวน 109 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ข้อมูลการทำงาน 3) ข้อมูลสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4) คุณภาพชีวิตและ 5) ความเครียดจากการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ (Chi-square test) จากการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 72.48 มีความเครียดอยู่ในระดับมาก (x̅ = 90.97,s.d.=19.36) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดจาการทำงาน คือ ระดับการศึกษา (p-value = 0.018) รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (p-value = 0.038) ระยะเวลาการทำงานต่อวัน (p-value = 0.018) และคุณภาพชีวิต (p-value < 0.05) ดังนั้น สถานประกอบการสามารถใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการป้องกันและลดความเครียดจากการทำงานของพนักงานสำนักงาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ความเครียดนำไปสู่ความเจ็บป่วย และผลาญค่ารักษาสูงลิ่ว. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30096.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL–BREF–THAI). สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/est/whoqol/.

กานดา จันทร์แย้ม. (2561). ความเครียดจากการทำงานตามแบบจำลองข้อเรียกร้อง-การควบคุมในงาน : สาเหตุ ผลกระทบและแนวทางการป้องกัน. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 31(1), 23-41.

จินดารัตน์ บุตรจินดา. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของบุคลากร:กรณีศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(1), 289-294.

ณัฐดนัย ตระกูลรัมย์และเพ็ญศรี ฉิรินัง. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานและความเครียดในการทำงานของเจ้าพนักงานเรือนจำ เรือนจำพิเศษธนบุรี. Journal of Administrative and Management, 7(3), 66-76.

นฤตะวัน ชัชราภรณ์และศิริลักษณ์ ศุภปีติพร. (2562). ภาวะเครียดจากการทำงานของพนักงานบริษัทนำเข้าในเขตกรุงเทพมหานคร.Chula Med Bull, 1(1), 37-48.

นิภาพร คำหลอม. (2563). การป้องกันและควบคุมความเครียดจากการทำงานตามหลักการยศาสตร์. สืบค้นจาก https://www.ohswa.or.th/17694457/ergonomics-make-it-simple-series-ep7.

นิภาพร คำหลอมและวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). ความเครียดและผลกระทบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในหน่วยงานด้านศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ, 19(2), 151-165.

ประภากร ใจบุญ. (2564). อิทธิพลของลักษณะงานและสภาพแวดล้อมที่มีต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 92-105.

ผู้จัดการสุดสัปดาห์. (2562). คนไทยเครียดเรื้อรัง. สืบค้นจาก https://mgronline.com/daily/detail/9620000123415

วันทนา เนาว์วันและอารมณ์ เอี่ยมประเสริฐ. (2563). การจัดการความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพชีวิตในการทํางาน. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 223-232.

อนันตศักดิ์ พันธ์พุฒ, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, สุรินธร กลัมพากรและสรา อาภรณ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมพิมพ์และแต่งสำเร็จ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(1),62-75.

อรนิชา ชื่นจิตร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมในเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

Choi, D.-W., Chun, S.-Y., Lee, S., Han, K.-T., & Park, E.-C. (2018). Association between Sleep Duration and Perceived Stress: Salaried Worker in Circumstances of High Workload. International Journal of Environmental Research and Public Health, 15(4).

Janine, L.C., Paul, L.D. & Anderson, S.S. (2017). Quality of Working Life and Occupational Stress: A Brazilian Perspective. International Journal of Business and Economic Research. 8(5),1016-1025.

Kikuchi, H., Odagiri, Y., Ohya, Y., Nakanishi, Y., Shimomitsu, T., Theorell, T., & Inoue, S. (2020). Association of overtime work hours with various stress responses in 59,021 Japanese workers: Retrospective cross-sectional study. Plos one, 15(3).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30