การพัฒนาระบบบริหารจัดการรับฝากรถ
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ, ระบบบริหารจัดการรับฝากรถบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการรับฝากรถ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการรับฝากรถ ผู้วิจัยศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการวิเคราะห์และออกแบบระบบเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานระบบ โดยใช้หลักการออกแบบและพัฒนาตามกระบวนการของวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) ซึ่งระบบงานที่พัฒนาเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Microsoft Visual Basic โดยใช้ฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2008 R2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัญหาของระบบงานเดิมมีการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า ข้อมูลรถ ข้อมูลการรับฝาก โดยการจดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ลงในสมุดบันทึก การจัดเก็บเอกสารไม่สะดวกในการค้นหาต้องใช้ระยะเวลานาน สรุปความต้องการของระบบใหม่ดังนี้ พัฒนาระบบให้มีระบบจัดเก็บเอกสารที่ง่ายต่อการค้นหา สามารถจัดการข้อมูลรับฝากรถและแสดงรายงานต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ระบบแบ่งผู้เกี่ยวข้องออกเป็น สองกลุ่มได้แก่ ผู้ดูแลระบบ (เจ้าของร้าน) และ พนักงาน ระบบสามารถจัดการข้อมูลลูกค้า จัดการข้อมูลพนักงาน จัดการข้อมูลการรับฝากและการคืนรถ รวมทั้งแสดงผลรายงานต่าง ๆ ผลการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบจากผู้เชี่ยวชาญภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56)
Downloads
References
กฤษฎาภรณ์ จันทร์ศรี และ ภรณี ศิริโชติ. 2560)). การพัฒนาระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารสารสนเทศศาสตร์. 35,(4), 55-73.
ดาวรถา วีระพันธ์ .(2561). ระบบสารสนเทศจัดการข้อมูลสุขภาพของบุคลากรและนักศึกษาด้วยเทคโนโลยีบาร์โค้ด.วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13 (2):145-154.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พนิดา ตันศิริ (2553). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ไพบูลย์ เกียรติโกมล และณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2551). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิรัช กาฬภักดี . (2559). ประสิทธิภาพของการใช้งานระบบสารสนเทศการประกันคุณภาพการดำเนินงานสหกิจศึกษามหาวิทยาลัยเจ้าพระยา. รายงานการประชุมวิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ. มหาวิทยาลัยนเศวร พิษณุโลก. วันที่ 21-22 กรกฎาคม 2559, 476-488.