บทเรียนออนไลน์ เรื่อง วงจรขยายสัญญาณไฟฟ้าและวงจรกรองความถี่ วิชา ออปแอมป์ และลิเนียร์ไอซี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ที่เป็นวิดีโอการสอน บทเรียนออนไลน์ เรื่อง วงจรขยายสัญญาณไฟฟ้าและวงจรกรองความถี่ วิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี ประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน และหาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาแผนกวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์ ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ห้อง 2 จำนวน 25 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียนออนไลน์ เรื่อง วงจรขยายสัญญาณไฟฟ้าและวงจรกรองความถี่ วิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนออนไลน์ เรื่อง วงจรขยายสัญญาณไฟฟ้าและวงจรกรองความถี่ วิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี มีคุณภาพด้านเนื้อหาจัดอยู่ในระดับดีมาก (
= 4.56, SD = 0.51) และคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่อ จัดอยู่ในระดับดีมาก (
= 4.67, SD = 0.41) ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์เรื่อง วงจรขยายสัญญาณไฟฟ้าและวงจรกรองความถี่ วิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างผ่านเกณฑ์ E1/E2 ไม่น้อยกว่า 80/80 คะแนนระหว่างเรียนและการสอบหลังเรียน จำนวน 23 คน จาก 25 คน โดยคิดเป็น 90.90/89.60 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เรื่อง วงจรขยายสัญญาณไฟฟ้าและวงจรกรองความถี่ วิชา ออปแอมป์และลิเนียร์ไอซี หลังเรียน
( = 35.84, SD = 2.78) สูงกว่าก่อน (
= 12.76, SD = 3.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่ใช้บทเรียนออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.75, SD = 0.42)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Chamnian, M., & Chamnian, K. (2018). Benefit, problems and solutions of using online media in studies with efficiency in schools, Nakhon Si Thammarat Province. Ratchaphruek Journal, 16(3), 113-121. (in Thai)
Muekhuntod, J. (2016). Satisfaction of the community on public park services at Nangrongmunicipality,Nangrong district,Burirum Province. [Master’s thesis]. Suranaree University of Technology. (in Thai)
Office of the vocational education commission. (2020). Manage vocational education in the epidemic situation of coronavirus disease 2019 (COVID-19). http://bsq2.vec.go.th/document /covid /learning%20covidv2.pdf (in Thai)
Phaeophonsong, N. Secretary General of Vocational Education Commission. (2020). Interview, April 16. (in Thai)
Podapol, J. (2020). Online learning management: New normal of education. https://bit.ly/3R2GQun (in Thai)
Putwattana, P. (2021). Learning management for developing learners in digital age. Journal of Learning Innovation and Technology (JLIT). 1(2), 1-11. (in Thai)
Radchakit, T. (2014, March 4). The importance of education. http://soleehi.blogspot.com/. (in Thai)
Rattanathongkom, S. (2013). Setting educational aims. https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc /tech/book58/8aim58.pdf
(in Thai)
Ruttanateerawichien, K. (2012). The development of online tutorials on basic algorithm course about flowcharts writing for undergraduate students in Lampang Rajabhat University. Lampang Rajabhat University Journal, 1(1), 99-110. (in Thai)
Santajit, J. (2013, February 23). Concepts, innovation management theory for future development. https://www.gotoknow.org/posts/520517. (in Thai)
Tongyung, S., & Chanyapichet, J. (2018). The development of e-learning about education registration systems for first year undergraduate students in Pibulsongkram Rajabhat University. Pibulsongkram Rajabhat University. http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/?q=th/node/883. (in Thai)
Wilawan, K. Deputy Minister of Education. (2019). Interview. April 22. (in Thai)