การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อการเรียนรู้รายวิชาเครื่องมือและการวัดทางไฟฟ้าสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม

Main Article Content

วิไลวรรณ วงศ์จินดา
วิภาดา วงศ์สุริยา

บทคัดย่อ

จากเหตุการณ์การระบาดของ COVID-19 นั้น ผู้สอนได้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาที่มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อการเรียนรู้รายวิชาเครื่องมือและการวัดทางไฟฟ้าสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรู้ รวมถึงศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวนนักเรียน 15 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ แอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้รายวิชาเครื่องมือและการวัดทางไฟฟ้าแบบประเมินคุณภาพบทเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง  0.40-0.80 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.40-0.60 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าสถิติ (Dependent t-test) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้รายวิชาเครื่องมือและการวัดทางไฟฟ้า สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม ซึ่งประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมที่เรียนผ่านแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อการเรียนรู้รายวิชาเครื่องมือและการวัดทางไฟฟ้าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมถึงความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อการเรียนรู้รายวิชาเครื่องมือและการวัดทางไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
วงศ์จินดา ว., & วงศ์สุริยา ว. (2022). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อการเรียนรู้รายวิชาเครื่องมือและการวัดทางไฟฟ้าสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(2), 86–94. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/247663
บท
บทความวิจัย

References

Chukwuemeka, E. J., Dominic, S., Kareem, M. A., & Mailafia, I. A. (2021). Redesigning educational delivery systems: The needs and options for continuous learning during the Coronavirus (COVID19) pandemic in Nigeria. Contemporary Educational Technology, 13(1), 1-11.

Falode, O. C., Dine, K., Chukwuemeka, E. J., & Falode, M. E. (2022). Development of an interactive mobile application for learning undergraduate educational technology concepts. International Journal of Professional Development, Learners and Learning, 4(1), 1-7.

Insa-ard, S. (2017). E-Learning Design for Designers and Instructors. SE-Education. (in Thai)

Insa-ard, S. (2018). A design of e-Learning lessons to enhance advance thinking skill. SE-Education. (in Thai)

Kaeworoung, W., Watthankuljaroen, T., Topothai, V., & Sopeerak, S. (2020). Development of an application on android operating system in the topic of basic data communications and computer network for vocational diploma students in Suphan Buri Vocational College. STOU Educational Journal, 13(2), 43-57. (in Thai)

Khattiyamara, W., & Piyapimolasit, C. (2010). Revised bloom’s taxonomy. http://www.watpon.com/Elearning/bloom.pdf. (in Thai)

Kim, S., & Mun, H. J. (2021). Design and development of a self-diagnostic mobile application for learning progress in non-face-to-face practice learning. Applied Science, 11(22), 1-3.

Office of the Education Council. (2017). National education plan (2017 – 2036). Prikwan.

Rahmadani, E. D., & Suryanto, M. A. (2021). Development of android-based learning multimedia for electrical lighting installation courses in vocational high school. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, Vol. 591. Proceedings of the 6th Annual International Seminar on Transformative Education and Educational Leadership, Advances in Social Science, Education and

Humanities Research, (pp. 736-739). Atlantis Press.

Seewungkum, D. (2021). Development of Application Supports Learning on Smartphone by Augmented Reality Technology Using KWL Activity for Higher Education Institution in Thailand. Prog. Appl. Sci. & Tech, 11(3), 27-33. (in Thai)

Shamsuddin, S. A., Muhammad, F. M., & Radzi, A. (2019). EML: An android application for electrical education. International Journal of Innovative Technology and Exploring Engineering (IJITEE), 8(12), 5527-5530.

Sriprasertpap, K., & Meerith, S. (2020). Development of learning management with the application to encourage active learning in community: A case study of NTKB application, Thailand. International Journal of Information and Education Technology, 10(5), 341-345.

Sirisukpoca, U., & Krootjohn, S. (2019). Development of mobile application to enhance English pronunciation skill with flipped classroom technique for 3rd grade students. Technical Education Journal: King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 10(2), 227-236.

Suwanno, P. (2020). The development of application learning in educational research on the android operation system for fourth year student Yala Rajabhat. E-Journal of Media Innovation and Creative Education, 3(1), 38-49. (in Thai)

Tamhane K. D., Wasim, T. Khan, S. R., Tribhuwan, A. P., & Sachin B. T. (2015). Mobile learning application. International Journal of Scientific and Research Publications, 5(3), 1-4.

Wongrattana, C. (2017). Techniques in using statistics for research (13th ed.). ThaiNiramitkit Interprogessive. (in Thai)