ผลของการใช้ถ่านชีวภาพเป็นส่วนผสมในดินปลูกต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของผักกินใบ 3 ชนิดที่ปลูกในกระบะ

Main Article Content

ธนชัย ฉลาดเฉลียว

บทคัดย่อ

ถ่านชีวภาพ เป็นวัสดุที่ผ่านกระบวนการแยกสลายด้วยความร้อนภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนต่ำทำให้มีน้ำหนักเบา เป็นแหล่งธาตุอาหารพืช ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณสมบัติของถ่านชีวภาพ ได้แก่ ถ่านชีวภาพจากการเผากิ่งไม้ เศษไม้ไผ่ เปลือกทุเรียน และถ่านชีวภาพที่ได้จากการผสมถ่านชีวภาพดังกล่าว (mixed biochar : MB) ในอัตรา 50, 30 และ 20 %โดยน้ำหนักตามลำดับ และศึกษาผลของ MB ผสมร่วมกับดินปลูกทางการค้า (commercial potting soil: CP) และมูลวัวหมัก (cow manure: CM) ในอัตราที่แตกต่างกัน ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตผักกินใบ 3 ชนิด ได้แก่ ผักกาดกวางตุ้ง ผักกาดฮ่องเต้ และผักคะน้าในกระบะ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก 5 กรรมวิธี 48 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ต้น ได้แก่ 1) CP 100%, 2) CP 80% + MB 20%, 3) CP 50% + MB 50%,  4) CP 40% + MB 30% + CM 30% และ 5) CP 50 % + CM 50 % เก็บข้อมูลด้านการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักที่อายุ 45 วันหลังปลูก วิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดินปลูกหลังเก็บเกี่ยว ผลการศึกษา พบว่า ถ่านชีวภาพทุกชนิดเป็นด่าง pH อยู่ในช่วง 8.06 – 9.87 ค่า CEC แปรผันตามค่า pH ถ่านชีวภาพเปลือกทุเรียนมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ค่ามากที่สุด คือ 2,374 และ 32,627 mg kg-1 ตามลำดับ ผลของดินปลูกจากการผสม MB, CM และ CP พบว่า MB และ CM ส่งเสริมการเจริญเติบโตของผักเมื่อเทียบกับ CP 100% โดยเฉพาะกรรมวิธีที่ 4 CP 40% + MB 30% + CM 30% ทำให้ผักทั้งสามชนิดเจริญเติบโตทางลำต้นและผลผลิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผักกาดกวางตุ้งและฮ่องเต้มีน้ำหนักสดเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ส่งเสริมการสังเคราะห์แสงของผักคะน้าเมื่อพิจารณาจากค่าความเขียวของใบ การใส่ MB ทำให้ค่า pH และ CEC ของดินปลูกเพิ่มขึ้นหลังเก็บเกี่ยวผัก แต่ไม่มีผลต่อค่า EC การใส่ MB ยังส่งเสริมประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุไนโตรเจน  การศึกษานี้สนับสนุนความเป็นไปได้ในการใช้ถ่านชีวภาพผสมลงในดินปลูกทางการค้าได้สูงที่สุด 50% โดยไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผัก

Article Details

How to Cite
ฉลาดเฉลียว ธ. (2022). ผลของการใช้ถ่านชีวภาพเป็นส่วนผสมในดินปลูกต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของผักกินใบ 3 ชนิดที่ปลูกในกระบะ . วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 9(1), 46–55. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/247779
บท
บทความวิจัย

References

พินิจภณ ปิตุยะ, ไววุฒิ ภู่ทอง สายฝน สินสมุทรไทย นัยนา พรมอุดม ปัญญารัตน์ สิงห์พยัคฆ์ ภัทรมาศ มากมูล กิติพัทธิ์ โพธิ์ศรี ศุภกร คำงาม และจริงใจ เพชรแก้ว. เอกสารองค์ความรู้ เรื่อง ถ่านชีวภาพ. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, จังหวัดเพชรบุรี, หน้า 28.

สายชล สุขญาณกิจ และสิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์. ผลของถ่านชีวภาพร่วมกับการจัดการปุ๋ยต่อผลผลิตและความเข้มข้นธาตุอาหารในถั่วฝักยาวไร้ค้าง, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(3), 2561, หน้า 443-454.

พชรพล เปียรักษา และสุขุมาภรณ์ แสงงาม. ผลของการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพต่อการเติบโตและประสิทธิภาพของการสังเคราะห์ด้วยแสงของพริกขี้หนูซูเปอร์ฮอทภายใต้สภาวะดินเปรี้ยว, แก่นเกษตร, 46(1), 2561, หน้า 338-343.

เกศศิรินทร์ แสงมณี ธีระรัตน์ ชิณแสน และณัฐพงษ์ พันธภา. การศึกษาอัตราส่วนของถ่านชีวภาพต่อคุณสมบัติทางเคมีของดินปลูก การเจริญเติบโต และผลผลิตของผักสลัดกรีนคอส. เรื่องเต็มการประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53: สาขาพืช. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: 746-752. 2558.

จาวภา มะนาวนอก สันติไมตรี ก้อนคำดี เกษสุดา เดชภิมล วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ พลพินิจ และดรุณี โชติษฐยางกูร. ถ่านชีวภาพ: ผลต่อคุณสมบัติของดินและการเจริญเติบโตของข้าวนาหว่านน้ำตม (การทดสอบในสภาพกระถาง), แก่นเกษตร, 45(2), 2560, หน้า 209-220.

Butnan, S., J.L. Deenik, B. Toomsan, M. J. Antal and P. Vityakon. Biochar characteristics and application rates affecting corn growth and properties of soils contrasting in texture and mineralogy, Geoderma, 237(1), 2015, pp. 105-116.

รุ่งเพชร เกิดประกอบ และนัฐพร นันท์แก้ว. ผลของสารอัลลีโลพาธีจากถ่านเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่มีผลต่อการงอกและการเจริญเติบโตของผักและวัชพืช. วิทยาศาสตรบัณฑิต ปัญหาพิเศษ, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, 2561.

Cottenie, A. Soil and Plant Testing as a Basis of Fertilizer Recommendations. FAO Soils Bulletin No. 38/2. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome, p. 118, 1980.

Black, C.A. Methods of Soil Analysis. Part II: Chemical and Microbiological Properties. American Society of Agronomy, Madison, Wisconsin. p. 1572, 1965.

สายจิต ดาวสุโข อรุณ คงแก้ว และอุราวรรณ อุ่นแก้ว. การพัฒนาถ่านชีวภาพจากเปลือกทุเรียนเพื่อใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดิน และเพิ่มธาตุอาหารสำหรับเกษตรกรรม, วารสารผลงานวิชาการกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 1(1), 2555, หน้า 133-141.

Sendi, H., M.T.M. Mohamed, M.P. Anwar and H.M. Saud. Spent mushroom waste as a media replacement for peat moss in Kai-Lan (Brassica oleracea var. Alboglabra) production. The Scientific World Journal. 2013, Artick ID 258562, doi : 10.1155/2013/258562.

Prakongkep, N., R.J. Gilkes and W. Wiriyakitnateekul. Agronomic benefits of durian shell biochar. Journal of Metals, Materials and Minerals, 24(1), 2014, pp. 7-11.

Lehmann, J., J. P. da Silva Jr., C. Steiner, T. Nehls, W. Zech and B. Glaser. Nutrient availability and leaching in an archaeological Anthrosol and a Ferralsol of the Central Amazon basin: fertilizer, manure and charcoal amendments, Plant and Soil, 249(1), 2003, pp. 343-357.

Van Zwieten, L., S. Kimber, A. Downie, S. Morris, S. Petty, J. Rust and K.Y. Chan. A glasshouse study on the interaction of low mineral ash biochar with nitrogen in a sandy soil, Australian Journal of Soil Research, 48(7), 2010, pp. 569-576.

เสาวคนธ์ เหมวงษ์. ผลของถ่านชีวภาพจากไม้ไผ่ และแกลบต่อผลผลิต และประสิทธิภาพการดูดใช้ไนโตรเจนของข้าวพันธุ์ชัยนาท 1, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 16(1), 2557, หน้า 69-75.