การออกแบบและสร้างระบบไอโอทีสำหรับราวตากผ้าแบบอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการออกแบบและสร้างระบบไอโอทีสำหรับราวตากผ้าแบบอัตโนมัติที่ควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อทำการตากผ้าแทนมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลที่คาดเดาไม่ได้มากจนมนุษย์ไม่สามารถควบคุมสภาพอากาศได้ตามต้องการ โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดในตอนนี้ คือ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ทำให้ความกังวลลดลงเมื่ออยู่นอกบ้านและในตอนไม่มีใครอยู่บ้าน เพราะกลัวเสื้อผ้าจะเปียกกับน้ำฝนอีกด้วย โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU ESP8266 ทั้งแบบอัตโนมัติและควบคุมการทำงานผ่านทางสมาร์ทโฟน ใช้อุปกรณ์ตรวจจับแสงและอุปกรณ์ตรวจจับหยดน้ำฝน จากการทดสอบ จะพบว่า ราวตากผ้าแบบอัตโนมัติจะทำงานเมื่ออุปกรณ์ตรวจจับแสงจับได้ว่ามีแสงเพียงพอที่จะตากผ้าได้และอุปกรณ์ตรวจจับหยดน้ำฝนจับได้ว่าไม่มีฝนตกก็จะส่งสัญญาณไปให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU ESP8266 ประมวลผลและจะสั่งให้ฝาตู้เก็บผ้าเปิดออกเพื่อนำราวตากผ้าออกมาตากเองโดยอัตโนมัติ จากนั้นไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU ESP8266 จะทำการส่งข้อความแจ้งเตือนสถานะการทำงานไปยังสมาร์ทโฟนว่าได้ทำการตากผ้าเรียบร้อยแล้ว เมื่ออุปกรณ์ตรวจจับแสงตรวจจับได้ว่าไม่มีแสงเพียงพอและอุปกรณ์ตรวจจับหยดน้ำฝนตรวจจับได้ว่ามีฝนตกก็จะส่งสัญญาณไปให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU ESP8266 ประมวลผลแล้วสั่งให้ราวตากผ้าเลื่อนผ้ามาเก็บในตู้เก็บผ้าและฝาตู้เก็บผ้าก็จะปิดโดยอัตโนมัติ จากนั้นไมโครคอนโทรลเลอร์ NodeMCU ESP8266 จะทำการส่งข้อความแจ้งเตือนสถานะการทำงานไปยังสมาร์ทโฟนว่าได้ทำการเก็บผ้าเรียบร้อยแล้ว ส่วนการทำงานของระบบสั่งการผ่านทางสมาร์ทโฟน โดยการทดสอบจำนวน 20 ครั้ง การทำงานของระบบสั่งการผ่านทางสมาร์ทโฟน โดยเมื่อกดปุ่มตากผ้าทุกครั้ง ราวตากผ้าจะตากผ้า และเมื่อกดปุ่มเก็บผ้าทุกครั้ง ราวตากผ้าจะเก็บผ้า ได้ตามที่ต้องการ ทำให้ช่วยอำนวยความสะดวก ความสบาย และลดขั้นตอนบางอย่างในชีวิตประจำวันของเราได้เป็นอย่างมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น