การศึกษาปัญหา วิธีแก้ไขปัญหาและป้องกันในการติดตั้งระบบสุขาภิบาลของอาคารสูงหรือขนาดใหญ่พิเศษ

Main Article Content

Muangkaew Yutan

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันมีการก่อสร้างอาคารสูงหรือขนาดใหญ่พิเศษเป็นที่พักอาศัยและสำนักงานเมื่อมีการก่อสร้างอาคารต้องมีงานระบบสุขาภิบาล ดังนั้นมีการติดตั้งงานระบบสุขาภิบาลซึ่งจะต้องเจออุปสรรคปัญหาต่างๆมีผลกระทบความเสียหายต่อการดำเนินงาน จึงมีการกำหนดแนวทางที่จะลดปัญหาข้อบกพร่องให้น้อยลง อันที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงการต่อไปโดยในที่นี้จะมีการศึกษาปัญหาวิธีการแก้ไขปัญหาและป้องกัน โดยมีการรวบรวมข้อมูลปัญหา สาเหตุ ใส่ลงไปในกระบวนการขั้นตอนตรวจสอบโดยมีการแบ่งออกเป็น 2 ตอนคือช่วงตอนออกแบบและก่อสร้างเมื่อได้ข้อมูลออกมาก็นำไปวิเคราะห์หาสาเหตุ มีผลกระทบของปัญหาด้วยกัน 2 แบบคือเวลาทำงานกับงบประมาณ โดยแบ่งความรุนแรงเป็น 3 ระดับ


ผลจากการศึกษา ปัญหาที่พบมากส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ช่วงตอนก่อสร้างที่ขั้นตอนที่ 1, 3, 5 เกือบทุกประเภทอาคารมีผลกระทบด้านเวลามีความรุนแรงระดับ 1, 3 มีค่าความถี่ 18.18 – 27.25 เปอร์เซนต์ และปัญหาที่พบมากที่สุดมีค่าความถี่สูงสุด 37.5 เปอร์เซนต์ที่ช่วงขั้นตอนออกแบบเกิดขึ้นที่ขั้นตอนที่ 3 ของอาคารประเภทโรงงานมีผลกระทบด้านเวลามีความรุนแรงระดับ 1, 3 ส่วนปัญหาที่พบน้อยที่สุดและบางอาคารไม่พบปัญหาเลยเกิดขึ้นที่ช่วงตอนออกแบบขั้นตอนที่ 1, 2 เป็นผลกระทบทั้งด้านเวลาและงบประมาณมีความรุนแรงระดับ 2, 3

Article Details

How to Cite
Yutan, M. (2022). การศึกษาปัญหา วิธีแก้ไขปัญหาและป้องกันในการติดตั้งระบบสุขาภิบาลของอาคารสูงหรือขนาดใหญ่พิเศษ. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 9(1), 23–35. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/246876
บท
บทความวิจัย

References

สุรินทร์ เศรษฐมานิต และ ทาเคโอะ มอริมูระ. 2550, วิศวกรรมงานท่อภายในอาคาร, พิมพ์ครั้งที่ 5 สำนักพิมพ์ดวงกมล, กรุงเทพฯ, 2520

เกชา ธีระโกเมน, เกียรติ อัชรพงศ์, วันชัย บัณฑิตกฤษดา, วิโรจน์ ตั้งธนาพลกุล และสุรสิทธิ์ ทองจินทรัพย์, ความรู้เบื้องต้นวิศวกรรมงานระบบ, เอ็มแอนด์อี, กรุงเทพฯ, 2539

นิพนธ์ ลักขณาอดิศร, ระบบสุขาภิบาลในงานอาคาร, 2556

กฏหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่เกี่ยวข้อง. แหล่งที่มา: http://www.local.mol.go.th> law99 10 ต.ค. 2564

ภาณุพงศ์ กองคำสุก, การศึกษาปัญหาเพื่อลดปัญหาการติดต้ังระบบสุขาภิบาลในอาคาร, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ, 2559

ณัฐภณ ราชเดิม, การศึกษาเปรียบเทียบการออกแบบท่อน้ำประปาโดยใช้ท่อพีวีซีและ ท่อพีพีอาร์ในโครงการโรงเรียนนานาชาติคอนคอร์เดียน, ปริญญานิพนธ์ ปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ, 2560

ปฐมพงศ์ ตระบันพฤกษ์, ทางเลือกในการออกแบบงานระบบประปา สุขาภบิาลและดับเพลิง ประกอบอาคารพักอาศัยสูง 7 ชั้น, วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ, 2561