การประเมินรายได้จากการคาดการณ์องค์ประกอบขยะมูลฝอยของชุมชนบ้านยาง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยชุมชนเพื่อประเมินรายได้จากองค์ประกอบขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตของชุมชนตำบลบ้านยาง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการคาดการณ์ขยะมูลฝอยในอนาคตได้จากจำนวนประชากรในปีปัจจุบัน พบว่า ประชากรในอนาคต 5 10 15 และ 20 ปี ข้างหน้า มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีปัจจุบัน (พ.ศ. 2562) 13,690 คน เป็น 14,268 14,870 15,497 และ 16,151 คน ตามลำดับ เช่นเดียวกับปริมาณขยะมูลฝอยซึ่งแปรผันตามจากปีปัจจุบัน 3,696.30 กิโลกรัมต่อวัน เป็น 3,852.26 4,014.81 4,184.21 และ 4,360.76 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ จากการสำรวจองค์ประกอบของขยะมูลฝอยของตำบลบ้านยางในปีปัจจุบันส่วนใหญ่พบขยะทั่วไป 21 ± 10 กิโลกรัมต่อวัน รองลงมาคือ ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย ปริมาณ 14 ± 10 และ 5 ± 3 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ แต่ไม่พบขยะติดเชื้อ โดยองค์ประกอบขยะมูลฝอยที่นำมาใช้ประเมินรายได้เป็นประเภทขยะรีไซเคิล พบว่า ขวดพลาสติกมากที่สุด รองลงมาคือ กระดาษลัง ขวดแก้ว/แก้ว และขวดอลูมิเนียม ทั้งนี้การประเมินรายได้พบมูลค่าสูงขึ้นทุก ๆ 5 ปี ของปีการคาดการณ์ โดยมูลค่าของขยะรีไซเคิลในปีปัจจุบันเริ่มต้นที่ 6,490.38 บาทต่อวัน และมูลค่าของขยะรีไซเคิลในปีสุดท้ายของการคาดการณ์เท่ากับ 7,654.79 บาทต่อวัน
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
[2] กรมควบคุมมลพิษ. (2562, กุมภาพันธ์. 12). ปริมาณมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปี พ.ศ. 2536- 2546, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.pcd.go.th/
[3] กรมการปกครอง. (2562, กุมภาพันธ์. 12) . จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และ จังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2545, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http:stat.bora.dopa.go.th
[4] Badgie, D., Samah, M. A. A., Manaf, L. A., and Muda, A. B., “Assessment of Municipal Solid Waste Composition in Malaysia: Management, Practice, and Challenges”, Polish Journal of Environmental Studies, 21(3), 2012.
[5] MHLG, Annual report, section 4 local government, Kuala Lumpur, Technical Section of the Local Government Division, 2003.
[6] World Bank report, Municipal solid waste generation in 1995 among ASEAN and the estimates and projection in 2025, countries and GNP categories, 1999.
[7] Koushik Paul, Subhasish Chattopadhyay, Amit Dutta, Akhouri P. Krishna and Subhabrata Ray, A comprehensive optimisation model for integrated solid waste management system: A case study on Kolkata city, India, 2019.
[8] Liikanen, M., Sahimaa, O., Hupponen, M., Havukainen, J., Sorvari, J., and Horttanainen, M., Updating and testing of a Finnish method for mixed municipal solid waste composition studies. Waste management, 52 (25-33), 2016.
[9] วินัย มีแสง, “แนวโน้มองค์ประกอบและปริมาณการเกิดขยะมูลฝอยชุมชนในพื้นที่ตำบลสามพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี”. วารสารสมาคมนักวิจัย. 21(3), 2559.
[10] ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. (2562, กุมภาพันธ์. 12). ตำบลบ้านยาง, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://burirum.kapook.com
[11] อลงกรณ์ พึ่งจันดุม, การศึกษาปริมาณองค์ประกอบและมูลฝอยชุมชน, สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 11, นครราชสีมา, ม.ป.ป.
[12] พิเชษฐ์ คงนอก, การศึกษาการจัดการขยะชุมชน เทศบาลตำบลดอนหวาย อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา, วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2555.
[13] สันติ วรโฬร, การวางแผนการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองไผ่ อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์, วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2554.