คุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำในตู้ดื่มอัตโนมัติในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยาของน้ำในตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ ในเขตดุสิต เขตบางกอกใหญ่และเขตบางกอกน้อย เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน สิงหาคม ถึงเดือนธันวาคม 2559 เพื่อเป็นข้อมูลวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มทางจุลชีววิทยาจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติในเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 จากการสำรวจน้ำในตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ จำนวน 240 ตัวอย่าง พบว่าอยู่ในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ (พบถังขยะ/เศษขยะ และมีน้ำขังเฉอะแฉะรอบตู้) ร้อยละ 10.3 และพบมีเพียง 13 ตู้ มีฉลากครบถ้วนตามประกาศของคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 31 (พ.ศ. 2553) ระบบกรองน้ำภายในตู้ส่วนใหญ่ ร้อยละ 94.6 เป็นระบบ Reverse osmosis (RO) จากผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มทางจุลชีววิทยา จากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ จำนวนทั้งหมด 270 ตัวอย่าง ไม่ผ่านมาตรฐาน 121 ตัวอย่างหรือร้อยละ 44.8 และจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ผลวิเคราะห์ด้านจุลินทรีย์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานมีความสัมพันธ์กับตู้น้ำดื่มอัตโนมัติที่มีประตูไม่มีประตูปิดช่องจ่ายน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ข้อเสนอแนะควรมีการให้ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับตู้น้ำดื่มอัตโนมัติแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
(2) อรสา จงวรกุล. การวิจัยสถานการณ์ความปลอดภัยของการบริโภคน้ำที่ผลิตจากเครื่องผลิตน้ำดื่มหยอดเหรียญ. นนทบุรี:สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2551.
(3) ตู้น้ำหยอดเหรียญปนเปื้อนแบคทีเรีย กทม. สุ่มตรวจด้อยคุณภาพ 7% ไทยโพสต์ (ออนไลน์). มกราคม 2554; (สืบค้น 17 ก.ค. 2559; (1 หน้า). เข้าถึงได้จาก : URL: http://www.thaipost.net/Node/32675
(4) พิชญากร มาพะเนาว์. การประเมินคุณภาพและสภาพแวดล้อมของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554
(5) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ.2524) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 136 ง (วันที่ 16 ก.ค.2559)
(6) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 31 (พ.ศ.2553) ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนพิเศษ 140 ง (วันที่ 8 ธันวาคม 2553)
(7) Rice EW, Baird RB, Clesceri LS, Eaton AD. Standard methods for the examination of water and wastewater. 22nd ed. Washington, DC: American Public Health Association (APHA); 2012.
(8) ISO 19250, Water quality -- detection of Salmonella spp. Geneva: International Organization Standard; 2010.
(9) Environment Agency (EA). The microbiology of drinking water (2010) - Part 6 - methods for the isolation and enumeration of sulfite-reducing clostridia and Clostridium perfringens by membrane filtration. Bristol: Environmental Agency; 2010