การพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์ข้าวสารอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว

Main Article Content

ธัญภพ ศิริมาศเกษม
กฤษติยพงษ์ ขวัญวงษ์
อิษฎา แสงโชติ
ศักดิ์ศรี แก่นสม
ธเนศ ตั้งจิตเจริญเลิศ
อิสรี ศรีคุณ
กวีพจน์ วรเนตรสุทธิกุล
ปาริฉัตร แก่นสม
ประชารัฐ สัตถาผล

บทคัดย่อ

การพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์ข้าวสารอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา ออกแบบ สร้าง และทดสอบหาประสิทธิภาพของระบบ โดยใช้อุปกรณ์สมองกลฝังตัว ATMEGA328P เป็นตัวควบคุมและแสดงผลการทำงานต่างๆ ด้วยจอแสดงผลขนาด 20 ตัวอักษร 4 บรรทัด มีปุ่มกดเลือกการทำงาน ใช้ระบบนิวเมติกส์เป็นตัวพับปลายถุงเข้าหากัน ใช้ความร้อนจากขดลวดความร้อนในการผนึกถุงทั้ง 3 ด้าน และใช้มอเตอร์กระแสตรงในการเลื่อนถุงบรรจุภัณฑ์ประสิทธิภาพของเครื่องบรรจุภัณฑ์ข้าวสาร เป็นการหาค่าความผิดพลาดจากการชั่งน้ำหนัก และการทำงานของระบบผนึกถุงข้าวสาร จำนวน 10 ครั้ง การทดสอบค่าน้ำหนักแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 500 กรัม 700 กรัม และ 1000 กรัม ผลการทำงานเพื่อหาประสิทธิภาพการชั่งน้ำหนักของเครื่องบรรจุภัณฑ์ข้าวสารอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัวพบว่า เมื่อมีการบรรจุข้าวน้ำหนัก 500 กรัม ค่าผิดพลาดอยู่ที่ 3.7% ที่น้ำหนัก 700 กรัม  ค่าผิดพลาด 2.6% และที่น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ค่าผิดพลาดอยู่ที่ 1.7% ในส่วนการปิดผนึกถุงพบว่าสามารถทำงานได้โดยข้าวสารไม่มีการรั่วไหลออกจากถุง และการตัดถุงพบว่าสามารถตัดขาดทุกครั้ง จากผลการทดสอบพบว่าประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องบรรจุภัณฑ์ข้าวสารอัตโนมัติด้วยสองกลฝังตัวสามารถทำงานได้และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
ศิริมาศเกษม ธ., ขวัญวงษ์ ก., แสงโชติ อ., แก่นสม ศ., ตั้งจิตเจริญเลิศ ธ., ศรีคุณ อ., วรเนตรสุทธิกุล ก., แก่นสม ป., & สัตถาผล ป. (2017). การพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์ข้าวสารอัตโนมัติด้วยสมองกลฝังตัว. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 4(1), 26–34. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/185260
บท
บทความวิจัย

References

(1) กิมานนท์ พูลกาลัง และถาวร ศิริสอน. (2555). เครื่องแลกธนบัตรเป็นเหรียญอัตโนมัติควบคุมโดยไมโครคอนโทรลเลอร์, ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, มหาวิทยาลัยสยาม.

(2) ไกรศร มิ่งฉาย, จักรพงษ์ ทัพสะอาด, และมนูญ เพชรออด. (2551). แผงทดลองการควบคุมมอเตอร์, ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, มหาวิทยาลัยบูรพา.

(3) จำรัส ทาคำวัง. (2557). เครื่องบรรจุน้ำตาลทรายขาว, ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า, มหาวิทยาลัยบูรพา.

(4) จันทร์จิรา วงษ์มิต, ณัฏฐพล ป้อมเด็ด, และพิทยุตม์ ก่ำเซ่ง. (2554) เครื่องต้นแบบซีลปิดปากถุงแบบจับจีบ,.ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

(5) มนตรี ไชยชาญยุทธ์. (2556). ระบบบรรจุเมล็ดพันธุ์แบบกึ่งอัตโนมัต, ประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ระดับชาติ ครั้งที่ 14 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2556, 1-4 เมษายน 2556. ณ โรงแรมหัวหินแกรนด์ พลาซ่า ประจวบคีรีขันธ์.

(6) ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง. (2554). เซนเซอร์ทรานสดิวเซอร์และการใช้งาน, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์

(7) ประจิน พลังสันติกุล.(2553). พื้นฐานภาษา C สำหรับ Arduino, กรุงเทพ: สำนักงานพิมพ์แอพซอฟต์เทค

(8) วิศรุต ศรีรัตนะ. (2554). เซนเซอร์และทรานสดิวเซอร์ในงานอุตสาหกรรม, กรุงเทพ: สำนักงานพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น

(9) เอกสาร มะการ. (2552). เรียนรู้เข้าใจใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR ด้วย Arduino, กรุงเทพ: สำนักงานพิมพ์อีทีที

(10) โอภส เอี่ยมสิริวงศ์. (2559). การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C, กรุงเทพ: สำนักงานพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น

(11) Michael Margolis. (2012). Arduino Cookbook, USA: O'Reilly Media,Inc.