การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์โดยสารละลายFe-EDTA

Main Article Content

มินตาภา เผาธีระยุทธ์
อนุรักษ์ ปีติรักษ์สกุล

บทคัดย่อ

 งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงวิธีการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์โดยใช้สารFe-EDTAละลายด้วยปฏิกิริยาการดูดซึม (Absorption) ข้อดีของสารละลายFe-EDTA คือ เลือกกำจัดได้เฉพาะก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และสามารถฟื้นฟูสารละลายนำกลับมาใช้ได้ใหม่โดยทำการทดลองกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่ความเข้มข้นประมาณ5,000 ppm


การปฏิกิริยากับสารละลายFe-EDTA ความเข้มข้น0.2 มิลลิโมลต่อลิตร ที่อุณหภูมิห้อง โดยเปรียบเทียบปฏิกิริยา การดูดซึมของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่มีอัตราการป้อนก๊าซอยู่ที่20,30และ40 มิลลิลิตรต่อนาที และอัตราการ ฟื้นฟูของสารละลายFe-EDTA โดยการป้อนอากาศที่มีอัตราการไหล50มิลลิลิตรต่อนาที จากการทดลองพบว่าค่า ความเป็นกรด-ด่าง(pH) ของสารละลาย Fe-EDTA ที่เหมาะสมต่อการทดลองมีค่าเท่ากับ9.5ค่าคงที่ของการ เกิดปฏิกิริยาการดูดซึมไฮโดรเจนซัลไฟด์ในระบบมีค่า0.0143,0.0334 และ 0.0529 นาที-1 ตามลำดับ


 

Article Details

How to Cite
เผาธีระยุทธ์ ม., & ปีติรักษ์สกุล อ. (2015). การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์โดยสารละลายFe-EDTA. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 2(1), 8–16. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/182386
บท
บทความวิจัย

References

[1] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, แหล่งที่มาhttp://th.wikipedia.org/wiki/ก๊าซชีวภาพ, เข้าดูเมื่อวันที่

08/06/2558
[2] ศุภาพร หวังศิริเจริญ และวสุ ปฐมอารีย์. การก าจัดก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์ที่ปนเปื้อนในก๊าซชีวภาพโดย
จุลินทรีย์, วารสารวิทยาศาสตร์37มข(2552). หน้า130-136.

[3] Nirattisai Rakmaka, Wisitsree Wiyaratnb, Charun Bunyakana, Juntima Chungsiriporna. Synthesis of Fe/MgO nano-crystal catalysts by sol–gel method for hydrogensulfide removal. Chemical Engineering Journal. 162 (2010), p. 84-90.

[4] Luke Chen, James Huang and Chen-Lu Yang. Absorption of H2S in NaOCl Caustic Aqueous Solution. Environmental Progress. 20 (2001) p. 175-181.

[5] L.M. Frare, M.G.A. Vieira, M.G.C. Silva, N.C. Pereira, and M.L. Gimenes. Hydrogen Sulfide Removal from Biogas Using Fe/EDTA Solution Gas/Liquid Contacting and Sulfur Formation. Environmental Progress & Sustainable Energy, Vol.29, No.1

[6] Marianne Holmer and Harald Hasler-Sheetal. Sulfide intrusion in seagrasses assessed by stable sulfur isotopes. Frontiers in Marine Science. November 2014, Vol. 1, Article 64.[7]Ryan Hutcheson and I. Francis Cheng. Dependence of the FeII/IIIEDTA complex on pH. March 30, 2004