นวัตกรรมการลดกลิ่นกากขี้แป้งน้ำยาง

Main Article Content

เสาวนีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี
สมพร ประเสริฐส่งสกุล
ยุพดี ชัยสุขสันต์

บทคัดย่อ

กากขี้แป้งเป็นของเสียจากอุตสาหกรรมน้ำยางข้นที่ผลิตโดยวิธีการเซ็นตริฟิวจ์ มีส่วนประกอบของยางที่จับตัวและตะกอนของแมกนีเนียมแอมโมเนียมฟอสเฟตที่ไม่ละลายในน้ำยาง โดยเฉพาะน้ำยางสดที่เก็บรักษาด้วยแอมโมเนีย กากขี้แป้งตกตะกอนที่ก้นบ่อพักและหม้อของเครื่องเซ็นตริฟิวจ์ที่ใช้ปั้นน้ำยางข้น โดยทั่วไปกากขี้แป้งที่ขจัดออกจัดเป็นของเสีย โรงงานจะกองปล่อยทิ้งไว้กลายเป็นขยะถมที่และเผาทิ้ง การปล่อยกากขี้แป้งทิ้งไว้จนแห้งจะส่งกลิ่นเหม็นไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ประโยชน์  งานวิจัยนี้ทำการศึกษาสมบัติทางกายภาพของกากขี้แป้ง จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพขยายส่วน การลดกลิ่นกากขี้แป้งน้ำยางข้น และประเมินผลการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพปรับลดกลิ่นเหม็นของกากขี้แป้งจากน้ำยาง

Article Details

How to Cite
ก่อวุฒิกุลรังษี เ., ประเสริฐส่งสกุล ส., & ชัยสุขสันต์ ย. (2015). นวัตกรรมการลดกลิ่นกากขี้แป้งน้ำยาง. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 2(2), 40–51. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/180908
บท
บทความวิจัย

References

[1] Blackley , D. C. (1997). Polymer Latices Science and Technology, Vol.3. 2nd edition, London.

[2] สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2544). ธาตุอาหารพืช [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา URL : :http://www. tistr.or.th เข้าดูเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2557.

[3] Khaliq, A., Abbasi M. K. and Hussain, T. (2006). Effects of integrated use of organic and inorganic nutrient sources with effective microorganisms (EM) on seed cotton yield in Pakistan. Bioresource Technology, 97 : 967-972.

[4] บริษัท อี เอ็ม คิวเซ จำกัด. (2546). EM [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา URL : http:/www.emkyusei.com. เข้าดูเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2556.

[5] AOAC. (2000). Official methods of the association of official analytical chemists, 15thedition, AOAC, Washington D.C., U.S.A.

[6] ภาณุพงศ์ บางรักษ์. (2548). การทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเศษเหลือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มผสมน้ำหมักของ Rhodobacter capsulatus SS3 และการใช้ในการปลูกผักบุ้งและต้นหอม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.