ศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตแบตเตอรี่ด้วยโอโซน

Main Article Content

ไพโรจน์ หอมอ่อน
มงคล จงสุพรรณพงศ์

บทคัดย่อ

น้ำเสียที่ปล่อยออกจากโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งได้ผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสียและค่าการปนเปื้อนของ สารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+) ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ถึงแม้ว่าค่าการปนเปื้อนของสารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+)  จะผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด แต่จะยังมีการปนเปื้อนของสารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+) อยู่ค่าหนึ่ง  ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียด้วยสารเคมี ไม่สามารถที่จะลดค่าการปนเปื้อนของสารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+) ให้หมดจนเป็นศูนย์ได้ กล่าวคือ น้ำเสียที่ออกจากกระบวนการผลิตแบตเตอรี่ มีค่าการปนเปื้อนของสารมลพิษ หลักๆ 2 อย่าง คือ มีการปนเปื้อนของสารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+)  และมีการปนเปื้อนของกรดกำมะถัน (H2SO4) มากับน้ำเสีย ดังนั้นระบบการบำบัดน้ำเสียจึงต้องใช้สารเคมีที่มีสภาพค่าความเป็นด่างที่สูง เช่น โซเดี่ยมไฮดรอกไซด์ (NaOH)  เพื่อปรับค่า p H ของน้ำเสียและทำให้เกิดการตกตะกอนด้วยกระบวนการอื่นๆต่อไป แต่เนื่องจากน้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดด้วยเคมียังมีค่าการปนเปื้อนของ สารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+) อยู่ค่าหนึ่ง แสดงว่าระบบบำบัดแบบเคมียังไม่สามารถแยกสารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+)  ออกจากน้ำเสียได้ 100 %  


โอโซน (O3) เมื่อเกิดการสลายตัว จะมีออกซิเจนหนึ่งอะตอม ซึ่งไม่เสถียรตามสมการ  O3 -->  O2 + 2e   และจะมีความไวในการทำปฏิกิริยาออกซิไดซ์อย่างรุนแรงกับสารละลายไอออนของโลหะหนักต่างๆ ได้ดี ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้นำโอโซนมาทำการทดลองในการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ค่าการปนเปื้อนสารมลพิษที่ปนมากับน้ำเสียให้เป็นศูนย์ หรือให้เหลือน้อยที่สุด เป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม จากการที่ได้ทำการทดลองพบว่าโอโซนมีคุณสมบัติในการออกซิไดซ์สารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+) ได้ดี โดยเปลี่ยน Pb2+เป็น PbO(s) สามารถช่วยลดค่าการปนเปื้อนของสารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+) ในน้ำทิ้งที่ปล่อยออกจากโรงงานได้  จากผลการทดลองทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง การเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของโอโซน ที่เวลาคงที่ คือ 30 นาที พบว่า ปริมาณสารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+)  ลดลงแปลผกผันกับการเพิ่มความเข้มข้นของโอโซน ค่า R2 = 0.840 และการเพิ่มเวลาโอโซนสัมผัสกับน้ำเสีย ที่ปริมาณความเข้มข้นของโอโซนคงที่ คือ 300 mgO3/hr ปริมาณสารละลายไอออนตะกั่ว(Pb2+) ลดลงแปลผกผันกับการเพิ่มเวลาสัมผัส ค่า R2 = 0.872  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า โอโซนสามารถออกซิไดซ์สารละลายไอออนตะกั่ว (Pb2+) เป็น PbO(s) อยู่ในเกณฑ์ที่ดี เห็นได้จากค่า R2 ของทั้งสองผลการลดลองถือว่าอยู่ในระดับที่ดี

Article Details

How to Cite
หอมอ่อน ไ., & จงสุพรรณพงศ์ ม. (2015). ศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียโรงงานผลิตแบตเตอรี่ด้วยโอโซน. วารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 2(2), 29–39. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JEET/article/view/180899
บท
บทความวิจัย

References

1. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พ.ศ.2552) เทคโนโลยีและการปรับสภาพน้ำด้วยโอโซน โครงการสาธิตเทคโนโลยีเชิงลึกเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

2. มงคล จงสุพรรณพงศ์ (พ.ศ.2550) การผลิตโอโซนในระบบพลาสมาความดันสูง สำหรับบำบัดน้ำเสียในบ่อเลี้ยงกุ้งและชุมชน

3. Mongkol Jongsuphaphong and Suntud Sirianuntapiboon (พ.ศ.2551) Design and application of new type of oxygen supplier for water and wastewater treatment.

4. Mongkol Jongsuphaphong1, Suntud Sirianuntapiboon1* and Bundit Limmeechokchai2 (พ.ศ.2553)
Evaluation of a pilot scale high pressure plasma ozonizer for use in wastewater treatment.

5. นางสาวเมธินี บุญชุบเลี้ยง (พ.ศ.2549) ผลของ Pb2+ และ Ni2+ ต่อประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์