การปรับปรุงคุณภาพเยื่อกระดาษในกระบวนการผลิตแผ่นฝ้าด้วยวิธีทากูซิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เยื่อกระดาษเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตแผ่นฝ้า ซึ่งในปัจจุบันเยื่อกระดาษมีราคาสูงขึ้น งานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อเยื่อกระดาษ และลดต้นทุนในการผลิตแผ่นฝ้า จากการศึกษากระบวนการ เตรียมเยื่อกระดาษ ผู้วิจัยมุ่งเน้นเครื่องกำหนดคุณภาพทั้ง 3 เครื่อง เนื่องจากเป็นเครื่องจักรที่กำหนดคุณภาพของ เยื่อกระดาษให้ได้คุณภาพตามความเหมาะสม โดยมีปัจจัยควบคุมได้ทั้งหมด 6 ปัจจัยหลักได้แก่ ค่ากำลังไฟฟ้าของ เครื่องกำหนดคุณภาพเครื่องที่1 ค่ากำลังไฟฟ้าของเครื่องกำหนดคุณภาพเครื่องที่2 ค่ากำลังไฟฟ้าของเครื่อง กำหนดคุณภาพเครื่อง2 ค่าอัตราการไหลเครื่องกำหนดคุณภาพเครื่องที่1 ค่าอัตราการไหลของเครื่องกำหนด คุณภาพเครื่องที่2 และค่าอัตราการไหลของเครื่องกำหนดคุณภาพเครื่องที่3 ซึ่งแต่ละปัจจัยมีปัจจัยละ 3 ระดับ ผู้วิจัยจึงใช้การออกแบบการทดลองด้วยวิธีทากูชิ รูปแบบออโธกอนอลอะเรย์ L18 เพื่อลดจำนวนการทดลอง และ วิเคราะห์คุณภาพเยื่อกระดาษจากผลตอบสนองได้แก่ค่าความแข็งแรง ค่าความยาวและการฉีกขาดของเยื่อ กระดาษ จากการทดลองพบว่าปัจจัยทุกปัจจัยล้วนมีอิทธิพลต่อผลตอบสนอง เมื่อทดลองปรับเปลี่ยนค่าของตัว แปรแต่ละตัวตามผลที่ได้จากการวิเคราะห์นั้น จะได้ค่าผลตอบสนองที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังสามารถลดเวลาและพลังงานในกระบวนการเตรียมเยื่อกระดาษได้อีกด้วย
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
[2] D.c. Montgomery, (2013). Design and Analysis of Experiments, 8th ed., the United States of America, Johnson Wiley & Sons, Inc.
[3] ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุธยา และพงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์ (2551). การออกแบบและวิเคราะห์ การทดลอง:บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด
[4] กิติศักดิ์ พลอยพานัขเจริญ (2545). สถิติสำหรับงานวิศวกรรม, กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.
[5] เปมิกา สุวรรณมณี (2548). การศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในกระบวนการพ่นลีเฟอร์นิเจอร์ไม้โดยการออกแบบ การทดลอง กรณีศึกษา โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[6] โสภิดา ท้วมมี (2550). การลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตพลาสติกแผ่นโดยการประยุกต์ใช้การ ออกแบบการทดลอง กรณีศึกษาบริษัทในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระ นครเหนือ.
[7] คมพันธ์ ซมสมุทร (2555). การศึกษาเงื่อนไขการตัดที่ล่งผลต่อคุณภาพชิ้นงานและอายุการใช้งานเม็ดมีด ด้วย วิธีทากูซิและพื้นผิวตอบสนอง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[8] อรจิตร แจ่มแสง, ปิยะวรรณ สูนาสวน, นิวัฒน์ มูเก็ม (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าความ ต้านทานแรงเฉือนระหว่างเหล็กกล้าไร้สนิมและโลหะบัดกรีไร้สารตะกั่ว, วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 14, กรกฎาคม - ธันวาคม 2558