แนวทางการจัดการสมัยใหม่ที่มีผลต่อการดำเนินงาน: กรณีศึกษาบริษัท ช ทวี จำกัด(มหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการสมัยใหม่ที่มีผลต่อการดำเนินงาน กรณีศึกษา บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมที่ทำให้กรณีศึกษาสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย และประสบความสำเร็จในด้านการดำเนินงาน เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยวิธีวิทยาแบบสนทนากลุ่ม (Focus group approach) กับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ในการปฏิบัติ และศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลหลัง คือ ฝ่ายนโยบายและแผน ฝ่ายควบคุมมาตรฐานและศักยภาพ ฝ่ายบริหารความเสี่ยง และฝ่ายพัฒนาธุรกิจ จำนวน 8 คน นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้า การวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการศึกษาและนำผลการศึกษาในรูปแบบของการพรรณนา จากผลการศึกษาว่าพบองค์การมีแนวทางในการจัดการสมัยใหม่โดยใช้แนวคิดและทฤษฏีดังต่อไปนี้ในการบริหารจัดการองค์การเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในด้านการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1.การวิเคราะห์สภาพการณ์องค์การ 2.มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ 3.การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์โดยรวม และ 4.หลักธรรมาภิบาล การนำแนวทางในการจัดการสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในองค์การไม่เพียงช่วยให้องค์การเห็นถึงเป้าหมายแห่งความสำเร็จเท่านั้น แต่ยังช่วยให้องค์การมองเห็นจุดอ่อนและอุปสรรคขององค์การด้วย โดยจากการเก็บข้อมูลงานวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้ยังพออีกประหนึ่งว่า บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ยังคงให้ความสำคัญกับการนำแนวคิดทฤษฏีแบบเก่าที่ใช้กันมายาวนานมา ประยุกต์ ใช้ควบคู่กับระบบการบริหารจัดการที่มีความทันสมัยในปัจจุบัน เพื่อสร้างโอกาส และจดแข็งให้กับองค์กร โดยที่องค์กรไม่ต้องสูญเสียสิ้นเปลืองเวลาหรือทรัพยากรที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้นเลย
Article Details
เนื้อหาและข่อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือว่าร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม หากบุคคล หรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาต เป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิชาการ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เท่านั้น
References
2.จิระจิตต์ บุนนาค.2541 “การบริหารทรัพยากรมนุษย์,” วารสารบริหารธุรกิจ. 6(41): 4-5; เมษายน-มิถุนายน 2541. ชายโพธิสิตา. 2559. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ.