ความต้องการ และปัจจัยส่งเสริมการศึกษาต่อ และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตของพยาบาลวิชาชีพในเขตสุขภาพที่ 9
คำสำคัญ:
ความต้องการ, ปัจจัยส่งเสริมการศึกษาต่อ, หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์, เขตสุขภาพที่ 9บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ และปัจจัยส่งเสริมการศึกษาต่อในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตของพยาบาลวิชาชีพในเขตสุขภาพที่ 9 รวมถึงคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 388 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามความต้องการ ปัจจัยส่งเสริมการศึกษาต่อ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ตรวจคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of consistency: IOC) เท่ากับ 0.93 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามปัจจัยส่งเสริมการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย: พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ร้อยละ 29.12 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษาต่อ ต้องการศึกษาในสาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.67 รองลงมา เป็นสาขาการบริหารการพยาบาล ร้อยละ 26.55 ส่วนปัจจัยส่งเสริมการศึกษาต่อ พบว่า ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำทางการพยาบาล 2) ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในสาขาที่ศึกษา และ 3) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ผลการศึกษาที่ได้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต และเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตตามความคาดหวังของพยาบาลวิชาชีพ
References
โกวิท ประดิษฐ์ผล. (2563). ปัจจัยพยากรณ์การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์.
จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง, เนตรชนก ศรีทุมมา, และนงลักษณ์ จินตนาดิลก. (2556). สมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล สังกัดโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 20(1), 1-15.
ทิพยรัตน์ สิงห์ทอง, จิราพร เขียวอยู่, บัณฑิต ถิ่นคำรพ, กฤษดา แสวงดี, และตวงทิพย์ ธีระวิทย์. (2560). การศึกษาต่อหลังสำเร็จการศึกษาของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 426-437.
ธนันต์ ศุภศิริ และ อานนท์ วรยิ่งยง. (2562). การสำรวจสถานะสุขภาพและมุมมองด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสระบุรี. เวชสารแพทย์ทหารบก, 72(3), 193-200.
เนตรชนก ศรีทุมมา, จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง, และนงลักษณ์ จินตนาดิลก. (2558). คุณลักษณะเฉพาะบุคคลที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารฝ่ายการ
พยาบาล สังกัดโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(3), 440-455.
นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.
บุญช่วย ศิลาหม่อม, วรรณี เดียวอิศเรศ, และอารีรัตน์ ขำอยู่. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง.
วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1), 62-71.
ปราณี ภู่ให้ผล, อารีรัตน์ ขำอยู่, และวรรณี เดียวอิศเรศ. (2559). ลักษณะองค์การพยาบาล โรงพยาบาลทั่วไปในกำกับของรัฐ ที่พึงประสงค์ในทศวรรษหน้า. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 41(3), 193-200.
พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม. (2561). ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ของพยาบาลวิชาชีพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(4), 115-124.
มานะ สินธุวงษานนท์, นัฐยา บุญกองแสน, และกชกร หวังเติมกลาง. (2566). การศึกษากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs). วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 6(5), 527-544.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานข้อมูลบุคลากรด้านสาธารณสุข ประจำปี 2565. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.
รัตนา จารุวรรโณ และคณะ. (2561). ความต้องการการศึกษาต่อทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในกรุงเทพมหานคร.วารสารเกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 25(1), 7-24.
สมปอง พะมุลิลา, สมจิตต์ ลุประสงค์, วรรษมน ปาพรม, อมรรัตน์ นธะสนธิ์, สงวน ธานี, และภูษณิศา มีนาเขตร. (2564). ความต้องการการศึกษาหลักสูตร
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตของพยาบาลวิชาชีพ ในเชตสุขภาพที่ 10. วารสารพยาบาลทหารบก, 22(2), 270-277.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566 – 2570. สืบค้น 6 ธันวาคม 2566, จาก https://www.tnmc.or.th/news/723
อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, วาสนา อูปป้อ. (2564). พยาบาลวิชาชีพกับการเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 3(1), 8-18.
Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.